วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
บทความการพัฒนาครูสู่เทคโนโลยีสื่อการสอน
ในปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเทคโนโลยีสื่อการสอนที่ได้นำเทคโนโลยีด้านการสอนสมัยใหม่มาใช้เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการศึกษา ทำให้ครูผู้สอนมีความรู้ ความสามารถ และทักษะ มีคุณธรรมให้ทันต่อความเจริญก้าวหน้าและหลักนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถพึ่งตนเองได้ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและหลักนิยมของโรงเรียน
ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การให้การศึกษาและความรู้ครูผู้สอน กระบวนการเรียนการสอนเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาเทคโนโลยี สื่อการสอน วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหรือเรียกว่าการนำเทคโนโลยีสื่อการสอนมาประกอบการสอนนั่นเอง เทคโนโลยีการสอนนั้นเป็นเสมือนสะพานเชื่อมประสานระหว่างทฤษฎีการสอนกับการปฏิบัติการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพูนผลการเรียนให้ตรงตามจุดมุ่งหมายของบทเรียนนั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับ
กิดานันท์ มลิทอง (2536 : 75) ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอนนับแต่ออดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจความหมายในเนื้อหาบทเรียนได้ตรงตามที่ผู้สอนต้งอการไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นสื่อแบบใด ชนิดใดก็ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น การใช้สื่อการสอนต้องเลือกสื่อที่มีความเหมาะสม และตรงตามจุดประสงค์การสอนโดยการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบในการใช้
สนั่น ปัทมะทิน (2505 : 10) ที่กล่าวว่า การนำสื่อการสอนมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเป็นวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ทางหนึ่งเพราะการสอนเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การที่จะช่วยให้การเรียนและการสอนให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ แต่ครู-อาจารย์ ส่วนมากมักจะมองข้ามความสำคัญของสื่อการเรียนการสอนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนในระดับอุดมศึกษาและการสอนผู้ใหญ่ ซึ่งผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนไม่ใช่เด็ก ๆ จึงสอนด้วยวิธีการบรรยายและค้นคว้าก็เพียงพอที่จะเกิดการเรียนรู้แล้ว
ความจริงแล้ว ผู้สอนจำเป็นต้องพยายามหาลู่ทางที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และทักษะ ตลอดจนความสามารถทำอะไรได้จริงตามความมุ่งหมายโดยเร็วที่สุด และตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้เรียนไว้อย่างถาวร ในการส่งเสริมความรู้และทักษะผู้สอนจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ การสอนหรือสื่อการสอนมาประกอบการสอนด้วย
นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์
ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน
3. การเกิด การเผยแพร่ และการยอมรับนวกรรมการศึกษา ในบางเวลา เราเคยหยุดและคิดกันบ้างหรือไม่ว่า ความคิด และการกระทำใหม่ ๆทางการศึกษาบางอย่างนั้น หรือที่ใช้ หรือทดลองใช้อยู่นั้นมาจากไหน มาได้อย่างไรและทำไมจึงนำเอามาใช้หรือนำมาทดลองใช้กันขึ้นแน่นอนนวกรรมการศึกษาแต่ละอย่างจะต้องมีที่มารวมทั้งมีขั้นตอนของการเผยแพร่ออกไป และได้รับการยอมรับขึ้นในที่สุดสิ่งที่น่าจับตาดูหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ กลุ่มบุคคล 3 ฝ่าย อันได้แก่ นวกร ผู้บริหารและผู้ปฏิบัตินวกร อาจหมายรวมถึงบุคคลที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆทางการศึกษาขึ้นเองซึ่งมักเป็นเทคโนโลยีการศึกษาเมื่อคิดขึ้นได้แล้วก็ทดลอง และพัฒนาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้น หรือได้มาตรฐานแล้วก็เผยแพร่ออกไป เช่นคิดวิธีจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน คิดวิธีสอนจริยธรรมแบบเบญจขันธ์ เป็นต้นหรือหมายถึง หน่วยงาน เช่น โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน (RIT) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ส.ส.ว.ท.)ได้คิดวิธีใหม่ๆ ทางการเรียนด้วยตนเองหลายรูปแบบ และวิธีการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ขึ้น ทดลองและพัฒนาจนได้มาตรฐานแล้วเผยแพร่ออกไปนวกรการศึกษาบางท่านหรือบางกลุ่ม อาจได้แก่ ผู้ที่ศึกษาวิธีการใหม่ๆ มาจากการศึกษาเล่าเรียนหรือจากการอบรมแล้วนำมาเผยแพร่หรือนำมาดัดแปลง ทดลองแล้วเผยแพร่ต่อไป
แง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษารศ.ดร.เปรื่อง กุมุท ความนำ ในระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ วางการศึกษาของไทยได้เคลื่อนไหวและพยายามนำความคิดและวิธีการใหม่ ๆหรือนวกรรมการศึกษามาใช้เพื่อพัฒนาไปสู่ผลทางการศึกษาที่ดีขึ้นในบรรดาหลายความคิดและหลายวิธีการเหล่านั้นในเชิงปฏิบัติอาจยังเป็นที่สับสน และเป็นที่น่าสงสัยในแง่ต่าง ๆ อยู่หลายอย่าง เป็นต้นว่า ในขณะนี้มีนวกรรมการศึกษาใดบ้าง ที่เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องส่วนมากระดับการยอมรับนวกรรมยังอยู่ในระดับใดเพราะเหตุใดนวกรรมการศึกษาบางประเภทจึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างมั่นคงบางประเภทล้มลุกคลุกคลาน บางประเภทปรากฏเป็นที่ยอมรับกันพักเดียวก็เลิกไปตลอดจนนวกรรมการศึกษาเหล่านั้นมาจากไหนหรือเกิดขึ้นได้อย่างไรดังนั้นจึงขอถือโอกาสนี้อภิปรายแง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาเป็นด้าน ๆ ไปดังต่อไปนี้
ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)
Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)
นวัตกรรม (Innovation)หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คองพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์ 4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น - มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์ 4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น - มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
1. การยอมนับและระดับการยอมรับนวกรรมการศึกษา
นับตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา ได้มีการสำรวจวิจัยประเภทของนวกรรมการศึกษาในประเทศไทยหลายครั้งและหลายระดับการศึกษา
รวมทั้งที่ปรากฏเป็นรายงานของสถาบันการศึกษาบางแห่งในการนำนวกรรมการศึกษามาทดลองใช้ในสถาบันของตน ปรากฏว่ามีการใช้นวกรรมการศึกษากันอยู่หลายประเภทตั้งแต่การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการการสอนเป็นคณะ การใช้ศูนย์การเรียน การสอนแบบสืบสวนการสอนแบบจุลภาค บทเรียนโปรแกรมชุดการเรียนไปจนถึงการสอนระบบทางไกลในบรรดานวกรรมการศึกษาเหล่านั้นบางประเภทบางแห่งก็นำมาใช้จนเป็นธรรมดาไปแล้ว บางแห่งก็เลิกใช้ หรือไม่ก็ยังอยู่ในขั้นทดลองและตัดสินใจ บางแห่งก็ต้องการนำมาใช้จริงและแน่นอนส่วนจะทำได้เพียงใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจพิจารณาก็คือการยอมรับนวกรรมการศึกษานี้ มีอันดับของการยอมรับด้วย
รวมทั้งที่ปรากฏเป็นรายงานของสถาบันการศึกษาบางแห่งในการนำนวกรรมการศึกษามาทดลองใช้ในสถาบันของตน ปรากฏว่ามีการใช้นวกรรมการศึกษากันอยู่หลายประเภทตั้งแต่การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการการสอนเป็นคณะ การใช้ศูนย์การเรียน การสอนแบบสืบสวนการสอนแบบจุลภาค บทเรียนโปรแกรมชุดการเรียนไปจนถึงการสอนระบบทางไกลในบรรดานวกรรมการศึกษาเหล่านั้นบางประเภทบางแห่งก็นำมาใช้จนเป็นธรรมดาไปแล้ว บางแห่งก็เลิกใช้ หรือไม่ก็ยังอยู่ในขั้นทดลองและตัดสินใจ บางแห่งก็ต้องการนำมาใช้จริงและแน่นอนส่วนจะทำได้เพียงใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจพิจารณาก็คือการยอมรับนวกรรมการศึกษานี้ มีอันดับของการยอมรับด้วย
นวกรรมบางประเภทในสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาบางแห่งหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางส่วน อาจเพียงยอมรับในระดับตื่นตัว สนใจหรือรู้เรื่องในบางแห่งบางส่วนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอาจยอมรับในระดับการเรียนรู้ ศึกษาแล้วทดลองปฏิบัติ บางแห่งบางส่วนอาจไปถึงขั้นของการนำมาปฏิบัติและขยายขอบข่ายของการใช้นวกรรมนั้นให้กว้างขวางออกไปมากขึ้นทุกทีดังนั้นในการศึกษาเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาที่มีอยู่ในประเทศไทย
ในโอกาสต่อไปน่าจะได้พิจารณาไม่เพียงแต่ประเภทของนวกรรมและระดับของการศึกษาเท่านั้นน่าจะได้พิจารณาตัวแปรทางด้านระดับของการยอมรับนวกรรมการศึกษานั้น ๆ ด้วย
ในโอกาสต่อไปน่าจะได้พิจารณาไม่เพียงแต่ประเภทของนวกรรมและระดับของการศึกษาเท่านั้นน่าจะได้พิจารณาตัวแปรทางด้านระดับของการยอมรับนวกรรมการศึกษานั้น ๆ ด้วย
2. องค์ประกอบในการยอมรับนวกรรมการศึกษา
ตามที่กล่าวมาแล้วในความนำว่า นวกรรมการศึกษาบางประเภทในสถาบันและหน่วยงานการศึกษาบางแห่ง และโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางส่วน
มีการยอมรับในระดับของการนำไปใช้อย่างมั่นคงแต่ในบางแห่งและโดยบุคคลและกลุ่มบุคคล บางส่วนนวกรรมการศึกษานั้นกลับได้รับการปฏิเสธหรือไม่ก็มีอุปสรรคไม่อาจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นบางประเภทบางแห่งและโดยบุคคลบางส่วนยอมรับกันเพียงระยะสั้น ๆแล้วก็ล้มเลิกไปจึงน่าจะได้ศึกษากันให้
เห็นประจักษ์ว่าการยอมรับหรือปฏิเสธนวกรรมการศึกษาเกิดจากองค์ประกอบอะไร ตามความเป็นจริงการศึกษาทำนองนี้ จำเป็นที่จะต้องเอาหลักวิชาเข้ามาจับก่อนโดยศึกษาตัวแปรที่จะมีผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับนวกรรมการศึกษา โดยทั่วไปก่อน เป็นต้นว่า
มีการยอมรับในระดับของการนำไปใช้อย่างมั่นคงแต่ในบางแห่งและโดยบุคคลและกลุ่มบุคคล บางส่วนนวกรรมการศึกษานั้นกลับได้รับการปฏิเสธหรือไม่ก็มีอุปสรรคไม่อาจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นบางประเภทบางแห่งและโดยบุคคลบางส่วนยอมรับกันเพียงระยะสั้น ๆแล้วก็ล้มเลิกไปจึงน่าจะได้ศึกษากันให้
เห็นประจักษ์ว่าการยอมรับหรือปฏิเสธนวกรรมการศึกษาเกิดจากองค์ประกอบอะไร ตามความเป็นจริงการศึกษาทำนองนี้ จำเป็นที่จะต้องเอาหลักวิชาเข้ามาจับก่อนโดยศึกษาตัวแปรที่จะมีผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับนวกรรมการศึกษา โดยทั่วไปก่อน เป็นต้นว่า
- การสนองต่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาและการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน
- ตัวแปรเกี่ยวกับ 4-M
- ความก้าวหน้าและพัฒนาการทางวิชาการและเทคโนโลยี
- สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
- ความยุ่งยากของนวกรรมการศึกษานั้นเอง
- การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร
- เจตคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
- ความสามารถและความตั้งใจของผู้เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้และอื่น ๆ
- ตัวแปรเกี่ยวกับ 4-M
- ความก้าวหน้าและพัฒนาการทางวิชาการและเทคโนโลยี
- สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
- ความยุ่งยากของนวกรรมการศึกษานั้นเอง
- การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร
- เจตคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
- ความสามารถและความตั้งใจของผู้เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้และอื่น ๆ
เมื่อตั้งตัวแปรอะไรก็สุดแล้วแต่จะเห็นเหมาะสมแล้วก็สามารถที่จะนำไปศึกษาในเชิงของกรณีศึกษา หรือการสำรวจในระดับกว้างเพื่อให้ได้ภาพในเรื่องนี้โดยรวมชัดขึ้นผลของการทำเช่นนี้จะทำให้ไม่เพียงพอแต่เราจะเห็นภาพของตัวแปรที่ส่งผลต่อการยอมรับนวกรรมการศึกษาได้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นยังสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการยอมรับในระดับสูงและทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ในอนาคต
3. การเกิด การเผยแพร่ และการยอมรับนวกรรมการศึกษา ในบางเวลา เราเคยหยุดและคิดกันบ้างหรือไม่ว่า ความคิด และการกระทำใหม่ ๆทางการศึกษาบางอย่างนั้น หรือที่ใช้ หรือทดลองใช้อยู่นั้นมาจากไหน มาได้อย่างไรและทำไมจึงนำเอามาใช้หรือนำมาทดลองใช้กันขึ้นแน่นอนนวกรรมการศึกษาแต่ละอย่างจะต้องมีที่มารวมทั้งมีขั้นตอนของการเผยแพร่ออกไป และได้รับการยอมรับขึ้นในที่สุดสิ่งที่น่าจับตาดูหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ กลุ่มบุคคล 3 ฝ่าย อันได้แก่ นวกร ผู้บริหารและผู้ปฏิบัตินวกร อาจหมายรวมถึงบุคคลที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆทางการศึกษาขึ้นเองซึ่งมักเป็นเทคโนโลยีการศึกษาเมื่อคิดขึ้นได้แล้วก็ทดลอง และพัฒนาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้น หรือได้มาตรฐานแล้วก็เผยแพร่ออกไป เช่นคิดวิธีจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน คิดวิธีสอนจริยธรรมแบบเบญจขันธ์ เป็นต้นหรือหมายถึง หน่วยงาน เช่น โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน (RIT) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ส.ส.ว.ท.)ได้คิดวิธีใหม่ๆ ทางการเรียนด้วยตนเองหลายรูปแบบ และวิธีการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ขึ้น ทดลองและพัฒนาจนได้มาตรฐานแล้วเผยแพร่ออกไปนวกรการศึกษาบางท่านหรือบางกลุ่ม อาจได้แก่ ผู้ที่ศึกษาวิธีการใหม่ๆ มาจากการศึกษาเล่าเรียนหรือจากการอบรมแล้วนำมาเผยแพร่หรือนำมาดัดแปลง ทดลองแล้วเผยแพร่ต่อไป
บางท่านอาจเป็นครูอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ มีหน้าที่ต้องสอน อบรมเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษา แก่นิสิตนักศึกษาอยู่แล้ว ก็สอนและอบรม และสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมหรือไม่ก็เป็นวิทยากรในเรื่องเหล่านี้ให้แก่ผู้อื่นที่ต้องการนำไปใช้ นวกรการศึกษาบางกลุ่มอาจได้แก่ผู้ที่ทำงานอยู่และได้คิดค้นวิธีการใหม่ ๆจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ และพยายามเผยแพร่วิธีการใหม่ ๆ เหล่านั้น จากประสบการณ์ของตนต่อไป
ถ้าหากจะกล่าวรวม ๆ แล้วนวกรการศึกษามักจะเป็นผู้ที่ คิด-รู้-เล่นเกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ ทางการศึกษา และพยายามเผยแพร่สิ่งใหม่ ๆ นั้นต่อไป แต่สิ่งที่น่าจะได้ศึกษาให้ละเอียดในเรื่องนี้ก็คือกลุ่มไหนหรือนวกรรมประเภทใดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการนำนวกรรมไปใช้มากที่สุดเพราะในการวางแผนเพื่อพัฒนาอิทธิพลทางด้านนี้จะสามารถทำได้ถูกจุดที่สุดผู้บริหาร การนำนวกรรมการศึกษาไปใช้จะต่อเนื่อง มั่นคงหรือไม่เพียงใด เรามักจะพบว่าส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ บารมีที่ได้รับจากผู้บริหาร หน่วยงานการศึกษาเริ่มตั้งแต่ความที่ท่านเหล่านั้นมีเจตคติที่ดีต่อนวกรรมการศึกษาความเป็นผู้นำหรือผู้บุกเบิกวางแผนการใช้ไปจนถึงการให้สนับสนุนและอิสระแก่ผู้ปฏิบัติหรือแก่การทดลองอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เพราะมิฉะนั้นแล้ว จะทำให้การปฏิบัติการใหม่ ๆ ต้องล้มลุกคลุกคลานหรือล้มเหลวเสียกลางคันเมื่อเป็นเช่นนี้
เราจึงน่าจะให้ความสำคัญต่อคุณลักษณะทางผู้บริหารในฐานะตัวแปรเกี่ยวกับการยอมรับนวกรรมการศึกษาได้อีกทางหนึ่ง และในบรรดาตัวแปรเหล่านั้น
ตัวแปรใดมีผลต่อการงอกงามในการนำนวกรรมการศึกษาไปใช้มากน้อยอย่างไรผู้ปฏิบัติ นวกรรมการศึกษาจะมีผลต่อการศึกษาในด้านคุณภาพและการแก้ปัญหาเพียงใดหรือไม่นั้น ต้องอาศัยว่ามีผู้ยอมรับและนำเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษาเหล่านั้นไปใช้ ผู้ปฏิบัติในที่นี้ก็คือบุคคลที่เป็นผู้รับ ผู้ใช้ และผู้สืบทอดความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่นวกรรมและผู้บริการเผยแพร่ และสนับสนุนให้กระทำทว่า มีสิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ความคิด และวิธีปฏิบัติใหม่ ๆ ซึ่งถูกถ่ายทอดมาจากฝ่ายนวกรและผู้บริหารอย่างดีแล้ว กลับมาล้มเหลวตรงที่ผู้นำมาปฏิบัติ หรือตรงผู้ใช้นี่เอง เพราะเหตุใดเพราะอาจมีตัวแปรเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติหลายประการ ซึ่งเรายังไม่ได้ศึกษากันอย่างแท้จริงโดยรวมหรือเป็นกรณี ๆ ไปที่ส่งผลเป็นเช่นนั้น เป็นต้นว่า เจตคติที่เขามีต่อการปฏิบัติหรือวิธีการใหม่ ๆ นั้น ความตั้งใจและความสามารถที่เขามีตลอดจนความเข้าใจในนวกรรมการศึกษาอย่างแจ่มแจ้งของเขาด้วยความเป็นไปได้ ความมั่นคงและความต่อเนื่องของการยอมรับและนำนวัตกรรมการศึกษาใด ๆ ไปใช้น่าจะขึ้นอยู่กับวัฏจักรหรือปฏิสัมพันธ์ของทีมกระบวนการนวกรรม ซึ่งประกอบด้วย
กลุ่มบุคคลสามฝ่ายที่ได้กล่าวมาแล้ว และตัวแปรของแต่ละฝ่ายเหล่านั้น การเกิดขึ้น การเผยแพร และการยอมรับอาจเริ่มจากนวกรการศึกษาไปยังผู้ปฏิบัติโดยตรงหรือผ่านไปทางผู้บริหารจึงไปถึงผู้ปฏิบัติก็ได้หรือผู้บริหารเป็นผู้ริเริ่ม และเป็นตัวกลางให้ผู้ปฏิบัติพบกับนวกรการศึกษา เพื่อก่อให้เกิดการนำเอาความคิดและวิธีการใหม่ ๆที่ต้องการมาใช้ก็ได้ในเรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะค้นหาให้พบจากกรณีที่เกิดขึ้นทั้งหลายทางนวกรรมการศึกษาว่าวงจรใดที่มีผลทางบวกต่อการยอมรับนวกรรมการศึกษาที่ได้ผลและการค้นพบในเรื่องนี้จะนำไปสู่การวางแผนที่เหมาะสมของการเผยแพร่นวกรรมการศึกษาต่อไป
ตัวแปรใดมีผลต่อการงอกงามในการนำนวกรรมการศึกษาไปใช้มากน้อยอย่างไรผู้ปฏิบัติ นวกรรมการศึกษาจะมีผลต่อการศึกษาในด้านคุณภาพและการแก้ปัญหาเพียงใดหรือไม่นั้น ต้องอาศัยว่ามีผู้ยอมรับและนำเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษาเหล่านั้นไปใช้ ผู้ปฏิบัติในที่นี้ก็คือบุคคลที่เป็นผู้รับ ผู้ใช้ และผู้สืบทอดความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่นวกรรมและผู้บริการเผยแพร่ และสนับสนุนให้กระทำทว่า มีสิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ความคิด และวิธีปฏิบัติใหม่ ๆ ซึ่งถูกถ่ายทอดมาจากฝ่ายนวกรและผู้บริหารอย่างดีแล้ว กลับมาล้มเหลวตรงที่ผู้นำมาปฏิบัติ หรือตรงผู้ใช้นี่เอง เพราะเหตุใดเพราะอาจมีตัวแปรเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติหลายประการ ซึ่งเรายังไม่ได้ศึกษากันอย่างแท้จริงโดยรวมหรือเป็นกรณี ๆ ไปที่ส่งผลเป็นเช่นนั้น เป็นต้นว่า เจตคติที่เขามีต่อการปฏิบัติหรือวิธีการใหม่ ๆ นั้น ความตั้งใจและความสามารถที่เขามีตลอดจนความเข้าใจในนวกรรมการศึกษาอย่างแจ่มแจ้งของเขาด้วยความเป็นไปได้ ความมั่นคงและความต่อเนื่องของการยอมรับและนำนวัตกรรมการศึกษาใด ๆ ไปใช้น่าจะขึ้นอยู่กับวัฏจักรหรือปฏิสัมพันธ์ของทีมกระบวนการนวกรรม ซึ่งประกอบด้วย
กลุ่มบุคคลสามฝ่ายที่ได้กล่าวมาแล้ว และตัวแปรของแต่ละฝ่ายเหล่านั้น การเกิดขึ้น การเผยแพร และการยอมรับอาจเริ่มจากนวกรการศึกษาไปยังผู้ปฏิบัติโดยตรงหรือผ่านไปทางผู้บริหารจึงไปถึงผู้ปฏิบัติก็ได้หรือผู้บริหารเป็นผู้ริเริ่ม และเป็นตัวกลางให้ผู้ปฏิบัติพบกับนวกรการศึกษา เพื่อก่อให้เกิดการนำเอาความคิดและวิธีการใหม่ ๆที่ต้องการมาใช้ก็ได้ในเรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะค้นหาให้พบจากกรณีที่เกิดขึ้นทั้งหลายทางนวกรรมการศึกษาว่าวงจรใดที่มีผลทางบวกต่อการยอมรับนวกรรมการศึกษาที่ได้ผลและการค้นพบในเรื่องนี้จะนำไปสู่การวางแผนที่เหมาะสมของการเผยแพร่นวกรรมการศึกษาต่อไป
มีแง่คิดที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการขยายผลของการนำนวกรรมการศึกษาไปใช้ให้กว้างขวางและต่อเนื่อง ซึ่งส่วนมากดูเหมือนว่าไม่เป็นไปตามที่ต้องการ เช่นการอบรมวิธีการเขียนบทเรียนโปรแกรมให้แก่ครูของเขตการศึกษา บางวิชา บางระดับโดยหวังว่าเมื่อเขียนบทเรียนแล้วครูเหล่านั้นคงจะผลิตบทเรียนโปรแกรมขึ้นใช้กันต่อไปหรือวิทยาลัยครูจัดการอบรมการสร้างชุดการเรียนวิชาต่าง ๆ แก่อาจารย์ที่สอนวิชาเหล่านั้นและหวังเช่นเดียว แต่ปรากฏภายหลังว่า จากจำนวนผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมไปแล้วทั้งหมด จะมีเพียงไม่กี่คนที่นำไปทำ และนำไปใช้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ของการหยุดชะงัก ทำให้น่าคิดว่า ผู้ผลิตกับผู้ใช้น่าจะเป็นคนละพวกกันมากกว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกัน หรือคน ๆเดียวกัน ผู้ใช้ซึ่งแน่ละมีอยู่จำนวนมาก เป็นผู้ที่รอผลิตผลจากผู้ผลิต
ดังนั้นผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาอย่างน้อยควรจะสังกัดหน่วยงานผลิตและบริการ ซึ่งมีโครงการต่อเนื่องรองรับ หน่วยงานนี้อาจเป็นศูนย์
ซึ่งมีหน้าที่คิด ทดลอง และผลิตก่อนที่จะนำไปเผยแพร่แก่ผู้ใช้ด้วยการอบรมวิธีการใช้นวกรรมการศึกษานั้นแก่เขาดังนั้นแทนที่ผู้ใช้จะเป็นผู้ผลิตและใช้
นวกรรมการศึกษาเองซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็เป็นเพียงรับการถ่ายทอดนวกรรมเพื่อใช้อย่างเดียว เท่านี้ก็พอแล้วและคิดว่านี่เป็นวิถีทางของการแพร่ขยายที่ได้ผลกว่าสรุปแล้วก็คือเส้นทางหรือขั้นตอนของการเผยแพร่และการดำเนินการแพร่ขยายการใช้นวกรรมการศึกษาให้ได้ผลนั้น
ต้องพิจารณาว่าควรจะทำกับใครและอย่างไรจึงจะมีผลทางการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและกว้างขวาง
ซึ่งมีหน้าที่คิด ทดลอง และผลิตก่อนที่จะนำไปเผยแพร่แก่ผู้ใช้ด้วยการอบรมวิธีการใช้นวกรรมการศึกษานั้นแก่เขาดังนั้นแทนที่ผู้ใช้จะเป็นผู้ผลิตและใช้
นวกรรมการศึกษาเองซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็เป็นเพียงรับการถ่ายทอดนวกรรมเพื่อใช้อย่างเดียว เท่านี้ก็พอแล้วและคิดว่านี่เป็นวิถีทางของการแพร่ขยายที่ได้ผลกว่าสรุปแล้วก็คือเส้นทางหรือขั้นตอนของการเผยแพร่และการดำเนินการแพร่ขยายการใช้นวกรรมการศึกษาให้ได้ผลนั้น
ต้องพิจารณาว่าควรจะทำกับใครและอย่างไรจึงจะมีผลทางการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและกว้างขวาง
จากแง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้นทั้งในด้านที่เกี่ยวกับการยอมรับ และระดับของการยอมรับก็ดี องค์ประกอบที่จะส่งผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับก็คือ วัฏจักร หรือ วงจรของกระบวนการนวกรรมตลอดจนการขยายผลในการใช้นวกรรมการศึกษาก็ดีจะเห็นว่ามีล้มเหลวอยู่หลายประการ และดูเหมือนจะมองเห็นกันอยู่ แต่ถ้าต้องการคำตอบไปใช้ขึ้นอยู่กับตัวแปรใดมากน้อยอย่างไร แล้วกลับเห็นไม่ค่อยชัด คงจะต้องให้ชัดแจ้งกันต่อไป ในประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นและหวังว่าถ้าทำและทำได้สำเร็จผลของการค้นพบจะสามารถนำมาเป็นข้อมูลสำหรับวางแผน ดำเนินการพัฒนางานด้านนวกรรมการศึกษาได้รัดกุม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นมาและเป็นอยู่ในขณะนี้
แง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษารศ.ดร.เปรื่อง กุมุท ความนำ ในระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ วางการศึกษาของไทยได้เคลื่อนไหวและพยายามนำความคิดและวิธีการใหม่ ๆหรือนวกรรมการศึกษามาใช้เพื่อพัฒนาไปสู่ผลทางการศึกษาที่ดีขึ้นในบรรดาหลายความคิดและหลายวิธีการเหล่านั้นในเชิงปฏิบัติอาจยังเป็นที่สับสน และเป็นที่น่าสงสัยในแง่ต่าง ๆ อยู่หลายอย่าง เป็นต้นว่า ในขณะนี้มีนวกรรมการศึกษาใดบ้าง ที่เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องส่วนมากระดับการยอมรับนวกรรมยังอยู่ในระดับใดเพราะเหตุใดนวกรรมการศึกษาบางประเภทจึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างมั่นคงบางประเภทล้มลุกคลุกคลาน บางประเภทปรากฏเป็นที่ยอมรับกันพักเดียวก็เลิกไปตลอดจนนวกรรมการศึกษาเหล่านั้นมาจากไหนหรือเกิดขึ้นได้อย่างไรดังนั้นจึงขอถือโอกาสนี้อภิปรายแง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาเป็นด้าน ๆ ไปดังต่อไปนี้
E-Learning คืออะไร
ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์ มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียน การถ่ายทอดความรู้เป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยอาจจะนับได้ว่า จุดเริ่มต้นตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร ์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน วิชาคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็มีการสร้างสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ แทนที่เอกสารหนังสือ ที่เรียกว่า สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) ซึ่งมีซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือ ให้เลือกใช้งานได้หลากหลาย ทั้งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการดอส เช่น โปรแกรมจุฬาซีเอไอ (Chula CAI) ที่พัฒนาโดยแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โปรแกรม ThaiTas ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์เทคโนโลยีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รวมถึงซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ เช่น ShowPartnet F/X, ToolBook, Authorware
ประเด็นแรกได้แก่ สามารถประหยัดเงินที่ต้องลงทุนในการจัดหาซอฟต์แวร์สร้างสื่อ (Authoring Tools) ไม่จำเป็นต้องซื้อโปรแกรมราคาแพงๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนการสอน เพราะสามารถใช้ NotePad ที่มาพร้อมกับ Microsoft Windows ทุกรุ่น หรือ Text Editor ใดๆ ก็ได้ลงรหัส HTML (HyperText Markup Language) สร้างเอกสาร HTML ที่มีลักษณะการถ่ายทอดความรู้ด้านการศึกษา
ประเด็นที่สองเนื่องจากคุณสมบัติของเอกสาร HTML ที่สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง VDO และสามารถสร้างจุดเชื่อมโยงไปตำแหน่งต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้พัฒนา
ส่งผลให้การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ WBI เป็นที่นิยมอย่างสูง และได้รับการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning (Electronis Learning) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI โดยมีจุดเริ่มต้นจากแผนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Educational Technology Plan'1996) ของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนของนักเรียนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาระบบการเรียนรู้จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริมอย่างเป็นจริงเป็นจัง ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่า e-Learning คือ การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการด้านเว็บเพจเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ และการอบรม ทั้งนี้สามารถแบ่งยุคของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนี้
ยุคคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและฝึกอบรม (Instructor Led Training Era) เป็นยุคที่อยู่ในช่วงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา จนถึงปี ค.ศ. 1983
ยุคมัลติมีเดีย (Multimedia Era) อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1984 - 1993 ตรงกับช่วงที่มีการใช้ Microsoft Windows 3.1 อย่างกว้างขวาง มีการใช้ซีดีรอมในการเก็บบันทึกข้อมูล มีการใช้โปรแกรม PowerPoint สร้างสื่อนำเสนอ ทั้งทางธุรกิจ และการศึกษา โดยนำมาประยุกต์สร้างสื่อการสอน บทเรียน พร้อมบันทึกในแผ่นซีดี ามารถนำไปใช้สอนและเรียนได้ตามเวลาและสถานที่ที่มีความสะดวก
ยุคเว็บเริ่มต้น (Web Infancy) อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1994 - 1999 มีการนำเทคโนโลยีเว็บเข้ามาเป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ต มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเว็บสร้างบทเรียนช่วยสอนและฝึกอบรม รวมทั้งเทคโนโลยีมัลติมีเดียบนเว็บ
ยุคเว็บใหม่ (Next Generation Web) เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป มีการนำสื่อข้อมูล และเครื่องมือต่างๆ มาประยุกต์สร้างบทเรียน เป็นการก้าวสู่ระบบ e-Learning อย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามความหมายของ e-Learning ก็ยังไม่สามารถสรุปแน่ชัดลงไปได้ ผู้เขียนจึงขอยกคำจำกัดความจากแหล่งอื่นๆ มาประกอบ เพื่อเป็นแนวทางในการตีความหมายต่อไป
เว็บไซต์ http://www.capella.edu/elearning ได้ให้ความหมายว่า "นวัตกรรมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิม เป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต ดาวเทียม วีดิโอเทป แผ่นซีดี ฯลฯ ดังนั้นจึงหมายรวมถึงการเรียนทางไกล การเรียนผ่านเว็บ ห้องเรียนเสมือนจริง ซึ่งมีจุดเชื่อมโยงคือ เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้"
Krutus (2000) กล่าวว่า "e-Learning เป็นรูปแบบของเนื้อหาสาระที่สร้างเป็นบทเรียนสำเร็จรูป ที่อาจใช้ซีดีรอม เป็นสื่อกลางในการส่งผ่าน หรือใช้การส่งผ่านเครือข่ายภายใน หรืออินเทอร์เน็ต ทั้งนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยการฝึกอบรม (Computer Based Training: CBT) และการใช้เว็บเพื่อการฝึกอบรม (Web Based Training: WBT) หรือการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมก็ได้"
Campbell (1999) ได้ให้ความหมายว่า "e-Learning เป็นการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สร้างการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์ และการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ที่ผู้คนทั่วโลกมีความสะดวก และสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำกัดสถานที่และเวลา เป็นการเปิดประตูการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากร"
ผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 2 ลักษณะ คือ
ลักษณะแรก e-Learning หมายถึง การเรียนเนื้อหา หรือสารสนเทศสำหรบการสอน หรือการอบรม ซึ่งใช้การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งใช้เทคโนโลยีการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนต่างๆ …..
ลักษณะที่สอง e-Learning คือ การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณดาวเทียม
ดร. สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ ผู้อำนวยการโครงการการเรียนรู้แบบออนไลน์แห่ง สวทช. (http://www.thai2learn.com) ได้ให้คำจำกัดความของ e-Learning ดังนี้
"การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning การศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)"
Peter J. Stokes: executive vice president of eduventures.com ได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้ "What is e-learning? It is a means of becoming literate involving new mechanisms for communication: computer networks, multimedia, content portals, search engines, electronic libraries, distance learning, and Web-enabled classrooms. E-learning is characterized by speed, technological transformation, and mediated human interactions."
E-Learning - Web Based Professional Development for the 21st Century Lifelong Learner: Internet-based learning allows your to expand learning and training opportunities at reduced cost without requiring classroom attendance or time away from work. Participants not only learn the skill points taught, but retention is greater because they are able to repeat sequences on demand. Effectiveness E-learning is a more effective way to achieve you lifelong learning objectives and update your key skills. (ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.effectivenesse-learning.com)
ทั้งนี้ผู้เขียนขอเสนอความหมายกว้างๆ ดังนี้
"การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน" โดยสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ ดังนี้
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาใด วิชาหนึ่งเป็นอย่างน้อย หรือการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับ หรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
มีการออกแบบการเรียนนการสอนอย่างมีระบบ
ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า e-Learning เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยการสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้ก้าวมาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ โดยพัฒนา CAI เดิมๆ ให้เป็น WBI (Web Based Instruction) หรือการเรียนการสอนผ่านบริการเว็บเพจ ส่งผลให้ข้อมูลในรูปแบบ WBI สามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกลกว่าสื่อ CAI ปกติ ทั้งนี้ก็มาจากประเด็นสำคัญอีก 2 ประการ
ประเด็นแรกได้แก่ สามารถประหยัดเงินที่ต้องลงทุนในการจัดหาซอฟต์แวร์สร้างสื่อ (Authoring Tools) ไม่จำเป็นต้องซื้อโปรแกรมราคาแพงๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนการสอน เพราะสามารถใช้ NotePad ที่มาพร้อมกับ Microsoft Windows ทุกรุ่น หรือ Text Editor ใดๆ ก็ได้ลงรหัส HTML (HyperText Markup Language) สร้างเอกสาร HTML ที่มีลักษณะการถ่ายทอดความรู้ด้านการศึกษา
ประเด็นที่สองเนื่องจากคุณสมบัติของเอกสาร HTML ที่สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง VDO และสามารถสร้างจุดเชื่อมโยงไปตำแหน่งต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้พัฒนา
ส่งผลให้การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ WBI เป็นที่นิยมอย่างสูง และได้รับการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning (Electronis Learning) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI โดยมีจุดเริ่มต้นจากแผนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Educational Technology Plan'1996) ของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนของนักเรียนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาระบบการเรียนรู้จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริมอย่างเป็นจริงเป็นจัง ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่า e-Learning คือ การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการด้านเว็บเพจเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ และการอบรม ทั้งนี้สามารถแบ่งยุคของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนี้
ยุคคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและฝึกอบรม (Instructor Led Training Era) เป็นยุคที่อยู่ในช่วงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา จนถึงปี ค.ศ. 1983
ยุคมัลติมีเดีย (Multimedia Era) อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1984 - 1993 ตรงกับช่วงที่มีการใช้ Microsoft Windows 3.1 อย่างกว้างขวาง มีการใช้ซีดีรอมในการเก็บบันทึกข้อมูล มีการใช้โปรแกรม PowerPoint สร้างสื่อนำเสนอ ทั้งทางธุรกิจ และการศึกษา โดยนำมาประยุกต์สร้างสื่อการสอน บทเรียน พร้อมบันทึกในแผ่นซีดี ามารถนำไปใช้สอนและเรียนได้ตามเวลาและสถานที่ที่มีความสะดวก
ยุคเว็บเริ่มต้น (Web Infancy) อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1994 - 1999 มีการนำเทคโนโลยีเว็บเข้ามาเป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ต มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเว็บสร้างบทเรียนช่วยสอนและฝึกอบรม รวมทั้งเทคโนโลยีมัลติมีเดียบนเว็บ
ยุคเว็บใหม่ (Next Generation Web) เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป มีการนำสื่อข้อมูล และเครื่องมือต่างๆ มาประยุกต์สร้างบทเรียน เป็นการก้าวสู่ระบบ e-Learning อย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามความหมายของ e-Learning ก็ยังไม่สามารถสรุปแน่ชัดลงไปได้ ผู้เขียนจึงขอยกคำจำกัดความจากแหล่งอื่นๆ มาประกอบ เพื่อเป็นแนวทางในการตีความหมายต่อไป
เว็บไซต์ http://www.capella.edu/elearning ได้ให้ความหมายว่า "นวัตกรรมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิม เป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต ดาวเทียม วีดิโอเทป แผ่นซีดี ฯลฯ ดังนั้นจึงหมายรวมถึงการเรียนทางไกล การเรียนผ่านเว็บ ห้องเรียนเสมือนจริง ซึ่งมีจุดเชื่อมโยงคือ เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้"
Krutus (2000) กล่าวว่า "e-Learning เป็นรูปแบบของเนื้อหาสาระที่สร้างเป็นบทเรียนสำเร็จรูป ที่อาจใช้ซีดีรอม เป็นสื่อกลางในการส่งผ่าน หรือใช้การส่งผ่านเครือข่ายภายใน หรืออินเทอร์เน็ต ทั้งนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยการฝึกอบรม (Computer Based Training: CBT) และการใช้เว็บเพื่อการฝึกอบรม (Web Based Training: WBT) หรือการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมก็ได้"
Campbell (1999) ได้ให้ความหมายว่า "e-Learning เป็นการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สร้างการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์ และการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ที่ผู้คนทั่วโลกมีความสะดวก และสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำกัดสถานที่และเวลา เป็นการเปิดประตูการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากร"
ผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 2 ลักษณะ คือ
ลักษณะแรก e-Learning หมายถึง การเรียนเนื้อหา หรือสารสนเทศสำหรบการสอน หรือการอบรม ซึ่งใช้การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งใช้เทคโนโลยีการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนต่างๆ …..
ลักษณะที่สอง e-Learning คือ การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณดาวเทียม
ดร. สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ ผู้อำนวยการโครงการการเรียนรู้แบบออนไลน์แห่ง สวทช. (http://www.thai2learn.com) ได้ให้คำจำกัดความของ e-Learning ดังนี้
"การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning การศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)"
Peter J. Stokes: executive vice president of eduventures.com ได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้ "What is e-learning? It is a means of becoming literate involving new mechanisms for communication: computer networks, multimedia, content portals, search engines, electronic libraries, distance learning, and Web-enabled classrooms. E-learning is characterized by speed, technological transformation, and mediated human interactions."
E-Learning - Web Based Professional Development for the 21st Century Lifelong Learner: Internet-based learning allows your to expand learning and training opportunities at reduced cost without requiring classroom attendance or time away from work. Participants not only learn the skill points taught, but retention is greater because they are able to repeat sequences on demand. Effectiveness E-learning is a more effective way to achieve you lifelong learning objectives and update your key skills. (ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.effectivenesse-learning.com)
ทั้งนี้ผู้เขียนขอเสนอความหมายกว้างๆ ดังนี้
"การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน" โดยสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ ดังนี้
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาใด วิชาหนึ่งเป็นอย่างน้อย หรือการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับ หรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
มีการออกแบบการเรียนนการสอนอย่างมีระบบ
ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า e-Learning เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยการสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ
E - book หนังสือยุคดิจิทัล
หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยหนังสือก็ยังคงสภาพเดิม แต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ โดยจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้
การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing)
E-book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คำนี้อาจจะเป็นคำใหม่ในความรู้สึกของหลาย ๆ คน แต่ อีกไม่นานจะเป็นที่รู้จัก ในหมู่นักอ่านทั้งหลาย โดยเฉพาะในวงการห้องสมุดซึ่งในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิทัลและห้องสมุดเสมือน เทคโนโลยีนี้ก็คงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมาให้บริการกับผู้ใช้
ความหมายของ E-book
Electronic Book (E-Book) หรือ"หนังสืออิเล็กทรอนิกส์" ซึ่งจัดทําขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ และ สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือ โดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้ เพราะอยู่บนเครือข่าย www และมีบราวเซอร์ที่ทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ ตามที่เราต้องการเหมือนการเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไปเพียงแต่เป็นระบบหนังสือบนเครือข่ายเท่านั้น หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้ เราสามารถอ่านหนังสือ ค้นหาข้อมูล และสอบถามข้อมูลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก ได้จากอินเตอร์เน็ต จากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่อง เดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นแฟ้มข้อมูล ประเภทข้อความ (Text File) ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักของภาษา HTML (Hyper Text Mask Language) ที่ใช้เขียนโปรแกรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์สำรับการเขียนข้อมูลให้ออกมา
เป็น E-Book และ ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน
วิวัฒนาการของ Electronic Book
ความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีมาภายหลังปี ค.ศ. 1940 ซึ่งปรากฏในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง หนึ่ง เป็นหลักการใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์คือ Book Master เนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1980 และก่อน 1990 ในช่วงแรกมี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิงและการศึกษาบันเทิง งานที่เกี่ยวกับการอ้างอิง มักจะเกี่ยวกับเรื่องการผลิตและการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการพร้อมๆ กันกับการผลิตที่ ซับซ้อน เช่น Silicon Graphics ด้วยข้อจํากัดทางเทคโนโลยีที่ห่างไกลความจริง เช่น มีปัญหาของจอภาพซึ่งมี ขนาดเล็กอ่านยาก แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น ไม่มีการป้องกันข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ ต่อมาเทคโนโลยีแล็บท็อปคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้ E-Book มีการรุดหน้าเร็วขึ้นจนสามารถ บรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบ เพราะได้นําบางส่วนของแล็บท็อปมาประยุกต์ใช้จนทำ ให้ E-Book มี คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีได้ นอกจากนี้ Internet ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องมีอุปกรณ์ที่จะใช้เก็บข้อมูล สามารถส่งข้อมูลได้คราวละมากๆ มีการป้องกันข้อมูล (Encryption) ใน การพัฒนา E-Book จะมุ่งไปที่ความบางเบาและสามารถพิมพ์ทุกอย่างได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ให้เหมือนกระดาษ จริงมากที่สุด
ลักษณะไฟล์ของ Electronic Book
HTML เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดงานประเภทนี้จะมีนามสกุลของไฟล์หลายๆ แบบเช่น .htm หรือ .html เป็นต้น สาเหตุหลักที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้นมาจากบราวเซอร์สําหรับเข้าชมเว็บต่างๆ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Communication ที่ใช้กันทั่วโลกสามารถอ่านไฟล์ HTML ได้ สําหรับไฟล์ XML ก็มีลักษณะเดียวกับไฟล์ HTML นั่นเอง
PDF Portable หรือ Document Format ถูกพัฒนาโดย Adobe System Inc เพื่อจัดการเอกสารให้อยู่ใน รูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ์ ไฟล์ประเภทนี้สามารถอ่านได้โดยระบบปฏิบัติการจํานวนมากและรวมถึง อุปกรณ์ E-Book Reader ของ Adobe ด้วย
PML พัฒนาโดย Peanut Press เพื่อใช้สําหรับสร้าง E-Books โดยเฉพาะอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่ สนับสนุนไฟล์ประเภท PML นี้จะสนับสนุนไฟล์นามสกุล .PDF ด้วย (หมายเหตุ ข้อมูลจาก www.j-joy.co.th)
การสร้างหนังสือ E-book
สำหรับโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างหนังสือ E-book ในปัจจุบันมีด้วยกันหลายโปรแกรม แล้วแต่ผู้ใช้จะเลือก ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มีวิธีการสร้างแตกต่างกันไปตามประเภทของโปรแกรมที่เราเรียกใช้ แต่สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มหัดทำขอแนะนำ โปรแกรม Flip Publisher เนื่องจาก สามารถสร้างงานได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถสร้างได้ สามารถนำชิ้นงานที่มีอยู่แล้ว เช่น Microsoft word มาดัดแปลงเป็น e-book ได้โดยง่าย และชิ้นงานที่ได้ยังมีความสวยงามดึงดูดความสนใจผู้เรียนอีกด้วย ส่วนอีกโปรแกรมที่อยากแนะนำคือโปรแกรม Desk top Author ซึ่งมีผู้ที่เคยใช้สร้าง E-book ด้วยโปรแกรมนี้บอกว่า ในการใช้โปรแกรม Desktop Author สร้าง E-Book นั้น โปรแกรมนี้มีความสามารถเกือบจะสมบูรณ์ในการใช้ทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการยอมรับเฉพาะภาษาไทยของโปรแกรม แม้จะใช้ฟร้อนท์ภาษาไทยได้น้อย ที่ดี่สุดคือ MS-Sans Serif ก็ไม่มีปัญหา จุดที่ไม่ยอมรับภาษาไทยอีกจุดหนึ่งคือการรายงานผลการสอบ มีปัญหา แต่เราก็แก้ปัญหานี้ได้ ดังจะได้แนะนำต่อไปค่ะ
1.ใส่ข้อความ รูปภาพทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมไปยัง Links ต่างๆ ได้ง่ายรวดเร็ว
2.ไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็ก สามารถส่งทาง E-mail หรือให้ download ได้ทางเว็บไซต์
3.การพิมพ์ตัวอักษรลงไป เราสามารถเลือกขนาด สี ฟร้อนท์ ได้ในลักษณะเหมือนที่มองเห็น WYSIWYG
4.ทำลิงค์เชื่อมโยงภายในเอกสาร ต่างเอกสาร หรือไปยังเว็บไซต์ได้
5.สร้าง Form สำหรับทำแบบทดสอบได้
6.มี Template และ Botton ให้เลือกใช้ และมีลักษณะเหมืนหนังสือจริง
7.สามารถกำหนดคุณสมบัติแบบโปร่งใสได้
8. Publish เป็นเอกสาร Web และดูผ่านเว็บเบราเซอร์ได้
9. สามารถทำ Package เป็นเอกสารรูปแบบต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น DNL, DRM, EXE และ SCR
10.ป้องกันเอกสารได้ คือสามารถใส่ PASSWORD ป้องกันการพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ ป้องกันการ SAVE ได้
11.เปิดดูได้โดยไม่ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ต (Offline) และอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์คุณภาพต่ำเปิดดูได้
ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับรูปแบบของหนังสือ จนกลายไปเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากมายในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย ก็ไม่จำเป็นว่าเราต้องโยนหนังสือทิ้งไป เพราะหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษก็ยังมีคุณค่าต่อมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำก็มีวันเปลี่ยนแปลง แต่หนังสือซึ่งเปรียบเหมือนมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา จะยังคงอยู่แม้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม
การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing)
E-book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คำนี้อาจจะเป็นคำใหม่ในความรู้สึกของหลาย ๆ คน แต่ อีกไม่นานจะเป็นที่รู้จัก ในหมู่นักอ่านทั้งหลาย โดยเฉพาะในวงการห้องสมุดซึ่งในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิทัลและห้องสมุดเสมือน เทคโนโลยีนี้ก็คงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมาให้บริการกับผู้ใช้
ความหมายของ E-book
Electronic Book (E-Book) หรือ"หนังสืออิเล็กทรอนิกส์" ซึ่งจัดทําขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ และ สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือ โดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้ เพราะอยู่บนเครือข่าย www และมีบราวเซอร์ที่ทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ ตามที่เราต้องการเหมือนการเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไปเพียงแต่เป็นระบบหนังสือบนเครือข่ายเท่านั้น หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้ เราสามารถอ่านหนังสือ ค้นหาข้อมูล และสอบถามข้อมูลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก ได้จากอินเตอร์เน็ต จากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่อง เดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นแฟ้มข้อมูล ประเภทข้อความ (Text File) ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักของภาษา HTML (Hyper Text Mask Language) ที่ใช้เขียนโปรแกรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์สำรับการเขียนข้อมูลให้ออกมา
เป็น E-Book และ ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน
วิวัฒนาการของ Electronic Book
ความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีมาภายหลังปี ค.ศ. 1940 ซึ่งปรากฏในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง หนึ่ง เป็นหลักการใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์คือ Book Master เนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1980 และก่อน 1990 ในช่วงแรกมี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิงและการศึกษาบันเทิง งานที่เกี่ยวกับการอ้างอิง มักจะเกี่ยวกับเรื่องการผลิตและการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการพร้อมๆ กันกับการผลิตที่ ซับซ้อน เช่น Silicon Graphics ด้วยข้อจํากัดทางเทคโนโลยีที่ห่างไกลความจริง เช่น มีปัญหาของจอภาพซึ่งมี ขนาดเล็กอ่านยาก แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น ไม่มีการป้องกันข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ ต่อมาเทคโนโลยีแล็บท็อปคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้ E-Book มีการรุดหน้าเร็วขึ้นจนสามารถ บรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบ เพราะได้นําบางส่วนของแล็บท็อปมาประยุกต์ใช้จนทำ ให้ E-Book มี คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีได้ นอกจากนี้ Internet ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องมีอุปกรณ์ที่จะใช้เก็บข้อมูล สามารถส่งข้อมูลได้คราวละมากๆ มีการป้องกันข้อมูล (Encryption) ใน การพัฒนา E-Book จะมุ่งไปที่ความบางเบาและสามารถพิมพ์ทุกอย่างได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ให้เหมือนกระดาษ จริงมากที่สุด
ลักษณะไฟล์ของ Electronic Book
HTML เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดงานประเภทนี้จะมีนามสกุลของไฟล์หลายๆ แบบเช่น .htm หรือ .html เป็นต้น สาเหตุหลักที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้นมาจากบราวเซอร์สําหรับเข้าชมเว็บต่างๆ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Communication ที่ใช้กันทั่วโลกสามารถอ่านไฟล์ HTML ได้ สําหรับไฟล์ XML ก็มีลักษณะเดียวกับไฟล์ HTML นั่นเอง
PDF Portable หรือ Document Format ถูกพัฒนาโดย Adobe System Inc เพื่อจัดการเอกสารให้อยู่ใน รูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ์ ไฟล์ประเภทนี้สามารถอ่านได้โดยระบบปฏิบัติการจํานวนมากและรวมถึง อุปกรณ์ E-Book Reader ของ Adobe ด้วย
PML พัฒนาโดย Peanut Press เพื่อใช้สําหรับสร้าง E-Books โดยเฉพาะอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่ สนับสนุนไฟล์ประเภท PML นี้จะสนับสนุนไฟล์นามสกุล .PDF ด้วย (หมายเหตุ ข้อมูลจาก www.j-joy.co.th)
การสร้างหนังสือ E-book
สำหรับโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างหนังสือ E-book ในปัจจุบันมีด้วยกันหลายโปรแกรม แล้วแต่ผู้ใช้จะเลือก ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มีวิธีการสร้างแตกต่างกันไปตามประเภทของโปรแกรมที่เราเรียกใช้ แต่สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มหัดทำขอแนะนำ โปรแกรม Flip Publisher เนื่องจาก สามารถสร้างงานได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถสร้างได้ สามารถนำชิ้นงานที่มีอยู่แล้ว เช่น Microsoft word มาดัดแปลงเป็น e-book ได้โดยง่าย และชิ้นงานที่ได้ยังมีความสวยงามดึงดูดความสนใจผู้เรียนอีกด้วย ส่วนอีกโปรแกรมที่อยากแนะนำคือโปรแกรม Desk top Author ซึ่งมีผู้ที่เคยใช้สร้าง E-book ด้วยโปรแกรมนี้บอกว่า ในการใช้โปรแกรม Desktop Author สร้าง E-Book นั้น โปรแกรมนี้มีความสามารถเกือบจะสมบูรณ์ในการใช้ทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการยอมรับเฉพาะภาษาไทยของโปรแกรม แม้จะใช้ฟร้อนท์ภาษาไทยได้น้อย ที่ดี่สุดคือ MS-Sans Serif ก็ไม่มีปัญหา จุดที่ไม่ยอมรับภาษาไทยอีกจุดหนึ่งคือการรายงานผลการสอบ มีปัญหา แต่เราก็แก้ปัญหานี้ได้ ดังจะได้แนะนำต่อไปค่ะ
1.ใส่ข้อความ รูปภาพทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมไปยัง Links ต่างๆ ได้ง่ายรวดเร็ว
2.ไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็ก สามารถส่งทาง E-mail หรือให้ download ได้ทางเว็บไซต์
3.การพิมพ์ตัวอักษรลงไป เราสามารถเลือกขนาด สี ฟร้อนท์ ได้ในลักษณะเหมือนที่มองเห็น WYSIWYG
4.ทำลิงค์เชื่อมโยงภายในเอกสาร ต่างเอกสาร หรือไปยังเว็บไซต์ได้
5.สร้าง Form สำหรับทำแบบทดสอบได้
6.มี Template และ Botton ให้เลือกใช้ และมีลักษณะเหมืนหนังสือจริง
7.สามารถกำหนดคุณสมบัติแบบโปร่งใสได้
8. Publish เป็นเอกสาร Web และดูผ่านเว็บเบราเซอร์ได้
9. สามารถทำ Package เป็นเอกสารรูปแบบต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น DNL, DRM, EXE และ SCR
10.ป้องกันเอกสารได้ คือสามารถใส่ PASSWORD ป้องกันการพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ ป้องกันการ SAVE ได้
11.เปิดดูได้โดยไม่ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ต (Offline) และอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์คุณภาพต่ำเปิดดูได้
ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับรูปแบบของหนังสือ จนกลายไปเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากมายในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย ก็ไม่จำเป็นว่าเราต้องโยนหนังสือทิ้งไป เพราะหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษก็ยังมีคุณค่าต่อมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำก็มีวันเปลี่ยนแปลง แต่หนังสือซึ่งเปรียบเหมือนมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา จะยังคงอยู่แม้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม
เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษามีความสำคัญมากเพราะการศึกษาของเยาวชนหรือคนในประเทศจะดีหรือเลว จะทำให้คนในประเทศแข่งขันกับคนในประเทศอื่น ๆ ได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการบริหารการศึกษา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือขึ้นอยู่กับผู้บริหารการศึกษาของบ้านเมืองนั่นเอง หากประเทศใดได้นักบริหารการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจงานด้านการศึกษา และผลกระทบของการศึกษาต่อความก้าวหน้าของประชาชนและประเทศชาติแล้ว ประเทศนั้นก็จะมีความรุ่งเรืองในทุกๆ ทาง ในทางตรงกันข้าม หากประเทศใดไม่มีนักบริหารการศึกษาที่เก่ง และ ทำงานโดยกำหนดเอาความก้าวหน้าและความรุ่งเรืองของประเทศชาติเป็นธงชัยแล้ว ก็ยากที่ประเทศนั้นจะรุ่งเรืองได้
การบริหารงานใดๆ ในยุคนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม เครื่องมือที่รู้จักกันทั่วไปก็ได้แก่เครื่องมือที่ใช้ในสำนักงาน ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ได้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือทางปัญญาอีกหลายอย่าง เช่นBalanced Score Card, เครื่องมือการวางแผน, เครื่องมือการติดตามงาน ฯลฯ เครื่องมือเหล่านี้ขอรวมเรียกว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับบริหารการศึกษา บทความนี้ต้องการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีเหล่านี้ว่ามีอะไรบ้าง โดยยังไม่ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีแต่ละประเภท
ความหมายของการบริหารการศึกษา ปัจจุบันนี้เราต่างตระหนักดีว่าการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติ ยิ่งประเทศมีผู้ได้รับการศึกษาในระดับสูงโดยเฉพาะทางด้านที่เป็นที่ต้องการมากเท่าใด ประเทศก็จะมีศักยภาพในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นมากขึ้นเท่านั้น ผลงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนก็จะมีคุณภาพมากขึ้น เพราะผู้ปฏิบัติมีความรู้และความสามารถเป็นอย่างดี เมื่อประชาชนมีความรู้มากขึ้น มีความเข้าใจในความถูกผิดชั่วดีมากขึ้น การกระทำผิดกฎหมายและจริยธรรมก็อาจจะลดลง และทำให้ประเทศมีความระดับความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นสูงขึ้นตามไปด้วย
การที่จะปรับปรุงการศึกษาให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ซึ่งเราเรียกว่าการปฏิรูปการศึกษานั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย นับตั้งแต่รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง และ นักเรียนนักศึกษา หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้เพิกเฉย หรือไม่ร่วมมือสนับสนุนเสียแล้ว การปฏิรูปการศึกษาก็จะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เองผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการปรับปรุงหรือปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นจะต้องรู้วิธีการบริหารจัดการที่ดี
ระดับการจัดการศึกษาที่เล็กลงมาจากการปฏิรูปการศึกษา ก็คือการดูแลให้การศึกษาในสถาบันการศึกษาดำเนินไปอย่างราบรื่น การจัดการศึกษานั้นอาจจะพิจารณาได้เป็นสองแนวทาง แนวทางหนึ่งก็คือพิจารณาจากลักษณะงานของผู้บริหารการศึกษาเอง และอีกแนวทางหนึ่งก็คือพิจารณาจากเนื้องานที่เกี่ยวกับการศึกษา
การจัดการเมื่อพิจารณาจากลักษณะงานของผู้บริหารการศึกษาในสถาบันการศึกษาแล้วอาจแบ่งได้เป็นงานสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
หากพิจารณาหัวข้องานจัดการศึกษาโดยพิจารณาจากเนื้องานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอง ก็อาจจะแบ่งเป็นงานต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
การบริหารงานใดๆ ในยุคนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม เครื่องมือที่รู้จักกันทั่วไปก็ได้แก่เครื่องมือที่ใช้ในสำนักงาน ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ได้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือทางปัญญาอีกหลายอย่าง เช่นBalanced Score Card, เครื่องมือการวางแผน, เครื่องมือการติดตามงาน ฯลฯ เครื่องมือเหล่านี้ขอรวมเรียกว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับบริหารการศึกษา บทความนี้ต้องการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีเหล่านี้ว่ามีอะไรบ้าง โดยยังไม่ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีแต่ละประเภท
ความหมายของการบริหารการศึกษา ปัจจุบันนี้เราต่างตระหนักดีว่าการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติ ยิ่งประเทศมีผู้ได้รับการศึกษาในระดับสูงโดยเฉพาะทางด้านที่เป็นที่ต้องการมากเท่าใด ประเทศก็จะมีศักยภาพในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นมากขึ้นเท่านั้น ผลงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนก็จะมีคุณภาพมากขึ้น เพราะผู้ปฏิบัติมีความรู้และความสามารถเป็นอย่างดี เมื่อประชาชนมีความรู้มากขึ้น มีความเข้าใจในความถูกผิดชั่วดีมากขึ้น การกระทำผิดกฎหมายและจริยธรรมก็อาจจะลดลง และทำให้ประเทศมีความระดับความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นสูงขึ้นตามไปด้วย
การที่จะปรับปรุงการศึกษาให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ซึ่งเราเรียกว่าการปฏิรูปการศึกษานั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย นับตั้งแต่รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง และ นักเรียนนักศึกษา หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้เพิกเฉย หรือไม่ร่วมมือสนับสนุนเสียแล้ว การปฏิรูปการศึกษาก็จะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เองผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการปรับปรุงหรือปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นจะต้องรู้วิธีการบริหารจัดการที่ดี
ระดับการจัดการศึกษาที่เล็กลงมาจากการปฏิรูปการศึกษา ก็คือการดูแลให้การศึกษาในสถาบันการศึกษาดำเนินไปอย่างราบรื่น การจัดการศึกษานั้นอาจจะพิจารณาได้เป็นสองแนวทาง แนวทางหนึ่งก็คือพิจารณาจากลักษณะงานของผู้บริหารการศึกษาเอง และอีกแนวทางหนึ่งก็คือพิจารณาจากเนื้องานที่เกี่ยวกับการศึกษา
การจัดการเมื่อพิจารณาจากลักษณะงานของผู้บริหารการศึกษาในสถาบันการศึกษาแล้วอาจแบ่งได้เป็นงานสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
- การวางแผนการศึกษา ได้แก่การวางแผนงานในทุก ๆ ด้านเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในสถาบันดำเนินไปอย่างราบรื่น อาทิ การวางแผนด้านหลักสูตร การวางแผนการสร้างอาคาร การวางแผนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ฯลฯ
- การจัดองค์กร ได้แก่การจัดรูปแบบการดำเนินงานภายในสถาบันการศึกษา รวมทั้งการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อให้มารับตำแหน่งหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ งานนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนาและประเมินการทำงานของบุคลากรด้วย
- การจัดงานและควบคุมให้การทำงานเป็นไปตามที่กำหนด ได้แก่การกำหนดเนื้องาน การมอบหมายงานให้บุคลากรรับไปดำเนินงาน การประสานงานบุคลากร และ การควบคุมให้บุคลากรเหล่านั้นดำเนินงานตามที่กำหนดอย่างครบถ้วนและได้ผลดี
- การสั่งการและการแก้ไขปรับปรุงงาน ได้แก่การออกคำสั่ง การออกระเบียบวิธีปฏิบัติ การกำหนดนโยบาย เพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ ของสถาบันเป็นไปอย่างราบรื่น และหากการดำเนินงานมีปัญหา ก็แก้ไขปรับปรุงระเบียบและวิธีการต่าง ๆ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
- การประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้บริหารจำเป็นจะต้องทราบตลอดเวลาว่า งานบริหารการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นไปตามแผนงานหรือไม่ และสามารถให้ผลงานที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรือไม่ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพของการปฏิบัติงานและของผลงานด้วย
- การจัดทำรายงาน ได้แก่ การจัดทำรายงานต่างๆ ตามระดับที่จำเป็นเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือต่อผู้บริหารที่อยู่สูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะก็คือรายงานที่แสดงผลการประเมินการปฏิบัติงานที่กล่าวถึงไปแล้ว
- การจัดทำงบประมาณ ได้แก่ การพิจารณาวางแผนด้านการใช้จ่ายของสถาบันล่วงหน้า นำเสนอแผนงบประมาณต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือต่อผู้บริหารเพื่อให้อนุมัติ จากนั้นก็ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนงบประมาณนั้น
หากพิจารณาหัวข้องานจัดการศึกษาโดยพิจารณาจากเนื้องานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอง ก็อาจจะแบ่งเป็นงานต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
- งานจัดการหลักสูตร ได้แก่การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเป็นกรรมการร่างหลักสูตรที่คาดว่าน่าจะเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ การพิจารณาอนุมัติหลักสูตร การจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการตามหลักสูตร
- งานจัดการนักศึกษา ได้แก่การประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาสมัครเข้ามาศึกษาในสถาบัน การลงทะเบียนนักศึกษา การแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา
- งานจัดการเรียนการสอน ได้แก่การกำหนดตารางการเรียนการสอน การจัดอาจารย์และวิทยากรมาสอน การจัดทำสื่อการสอน การสอบ การให้คะแนน
- งานบริหารบุคลากร ได้แก่ การจัดหาบุคลากรระดับต่างๆ มาปฏิบัติงานในสถาบัน การพัฒนาบุคลากร การประเมินผล
- งานจัดการงบประมาณ ได้แก่การพิจารณากำหนดงานที่จะต้องดำเนินการ การทำคำของบประมาณ การควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณ
- งานจัดการทรัพยากรและอุปกรณ์การศึกษา ได้แก่การจัดหา ควบคุม และ การดูแลรักษาทรัพยากรและอุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพดี
- งานจัดการห้องสมุด ได้แก่การจัดหาหนังสือและวารสาร การจัดสถานที่อ่าน การให้บริการยืมคืน การให้บริการค้นคืนข้อมูลและเอกสาร
- งานจัดการศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ได้แก่การจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การให้บริการอาจารย์และนักศึกษาเพื่อให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ การให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต
- งานจัดการเอกสาร ได้แก่การจัดระบบเอกสาร และ ระบบสารบรรณ
- งานจัดการการสื่อสาร ได้แก่การจัดหาระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้บริการการสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบโทรศัพท์ โทรสาร การประชุมทางไกล และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- งานให้บริการชุมชน ได้แก่การจัดการงานบริการต่างๆ ให้แก่ชุมชน เช่น บริการการศึกษาต่อเนื่อง การเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน
- ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเอาไว้เป็นหมวดหมู่ในฐานข้อมูลของหน่วยงาน โดยเฉพาะข้อมูลบางอย่างอาจจัดเก็บเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยอัตโนมัติ เมื่อจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลแล้วก็สามารถค้นคืนข้อมูลต่างๆ มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน
- ช่วยในการประมวลผลข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพื่อให้เป็นสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เช่น จัดทำเป็นรายงาน ตาราง กราฟ และ แผนภาพต่างๆ ได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้บริหารได้รับทราบรายงานและเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
- ช่วยในการประเมิน หรืองานประกันคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานจะได้ผลที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายจริง
- ช่วยในการส่งข้อมูลและรายงานที่ประมวลผลได้แล้วไปให้ผู้รับที่อาจจะอยู่ห่างไกลจากหน่วยงาน ทำให้ผู้รับได้รับข้อมูลและรายงานอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะส่วนที่เป็นข้อมูลนั้นหากผู้รับต้องการนำไปใช้ประมวลผลต่อก็สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใหม่อีกครั้ง
- ช่วยในการนำเสนอรายงานหรือข้อเสนอต่างๆ ต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระหว่างการประชุมสัมมนา
- ช่วยในการจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการปฏิบัติงาน และ การดูงาน เพื่อสร้างเป็นฐานความรู้สำหรับนำมาให้ผู้บริหารระดับล่างได้ศึกษาและนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติงาน เช่น ความรู้จากการเปิดสาขาวิชาหรือหลักสูตรใหม่ว่ากำหนดแนวทางไว้อย่างไร การดำเนินงานได้ผลอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ผลของการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร
- ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทดสอบการตัดสินใจของตนได้โดยอาศัยโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ จากนั้นก็อาจเลือกดำเนินงานโดยใช้แนวทางที่เห็นว่าดีที่สุดได้
- ช่วยในงานบริหารโดยตรงของผู้บริหาร เช่น การบริหารงานโครงการ การบันทึกตารางนัดหมาย การบันทึกข้อมูลส่วนตัว การจัดทำเอกสารที่ยังไม่ต้องการเปิดเผย การคำนวณหรือการประมวลผลบางอย่าง
- เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การบริหารจัดการของผู้บริหารการศึกษามีความสะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพ
- เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การสื่อสารและการประสานงานด้านการบริหารการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาสะดวกรวดเร็ว
- เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้พัฒนาการด้านการศึกษาของประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นและมั่นคง
- เทคโนโลยีบริหารการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้สามารถผลิตผู้จบการศึกษาทุกระดับที่มีคุณภาพได้
วิสัยทัศน์การศึกษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการจะขยายโอกาสทางการศึกษา อำนวยการให้มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อย่างน้อย ๑๒ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กและเยาวชนไทยทุกคน และพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ทุกระดับ โดยเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางให้เรียนอย่างมีความสุข และเน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง
ให้มากที่สุด จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ให้ความสำคัญต่อการศึกษา
สำหรับผู้ด้อยโอกาส และการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างกว้างขวางทั่วถึงและมีคุณภาพมุ่งส่งเสริมให้
เยาวชนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยและมีความสามารถให้ภาษาไทยได้อย่างดี รวมทั้งให้ใช้ภาษาอื่นที่เป็น
ภาษาสากลได้อย่างน้อย ๑ ภาษา ส่งเสริมให้มีความรู้ ความสามารถมีลักษณะวิสัยทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี เห็นคุณประโยชน์และรักที่จะใช้พลังงานธรรมชาติและเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้อง
กับวิถีชีวิต ส่งเสริมให้มีความภูมิใจในความเป็นไทย มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรักศิลปวัฒนธรรมไทย
และวิถีชีวิตแบบไทย เห็นความดีงาม ความชาญฉลาดของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสนใจ
ศึกษาค้นคว้า พัฒนาวิทยาการทั้งที่เป็นภูมิปัญญาไทยและที่เป็นสากล
จัดและส่งเสริมให้สถานศึกษา สถาบันทางศาสนา พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเป็นศูนย์กลาง
การเรียนรู้ของชุมชนที่มีความสะอาด สงบ ร่มรื่น และมีสื่อสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่ดี ใช้ได้สะดวก
เปิดโอกาสให้ประชาชนใช้บริการได้อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านความหลากหลายและระยะเวลาให้
สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
ทำนุบำรุง ส่งเสริม พัฒนาการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา ให้ศาสนาและ
วัฒนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน และเป็นหลักสำคัญส่วนหนึ่งในการจัดการศึกษา
จัดการศึกษาโดยให้ชุมชน ท้องถิ่นมีความเป็นเจ้าของ เปิดโอกาสและสนับสนุนให้
เอกชน องค์กรเอกชนจัดการศึกษาให้ทุกระดับ กระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่นและ
สถานศึกษา ปรับระบบการบริหาร การจัดการและการปฏิรูปการศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักการ
ศึกษาไทยและความต้องการของผู้เรียน ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
อย่างน้อย ๑๒ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กและเยาวชนไทยทุกคน และพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ทุกระดับ โดยเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางให้เรียนอย่างมีความสุข และเน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง
ให้มากที่สุด จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ให้ความสำคัญต่อการศึกษา
สำหรับผู้ด้อยโอกาส และการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างกว้างขวางทั่วถึงและมีคุณภาพมุ่งส่งเสริมให้
เยาวชนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยและมีความสามารถให้ภาษาไทยได้อย่างดี รวมทั้งให้ใช้ภาษาอื่นที่เป็น
ภาษาสากลได้อย่างน้อย ๑ ภาษา ส่งเสริมให้มีความรู้ ความสามารถมีลักษณะวิสัยทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี เห็นคุณประโยชน์และรักที่จะใช้พลังงานธรรมชาติและเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้อง
กับวิถีชีวิต ส่งเสริมให้มีความภูมิใจในความเป็นไทย มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรักศิลปวัฒนธรรมไทย
และวิถีชีวิตแบบไทย เห็นความดีงาม ความชาญฉลาดของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสนใจ
ศึกษาค้นคว้า พัฒนาวิทยาการทั้งที่เป็นภูมิปัญญาไทยและที่เป็นสากล
จัดและส่งเสริมให้สถานศึกษา สถาบันทางศาสนา พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเป็นศูนย์กลาง
การเรียนรู้ของชุมชนที่มีความสะอาด สงบ ร่มรื่น และมีสื่อสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่ดี ใช้ได้สะดวก
เปิดโอกาสให้ประชาชนใช้บริการได้อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านความหลากหลายและระยะเวลาให้
สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
ทำนุบำรุง ส่งเสริม พัฒนาการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา ให้ศาสนาและ
วัฒนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน และเป็นหลักสำคัญส่วนหนึ่งในการจัดการศึกษา
จัดการศึกษาโดยให้ชุมชน ท้องถิ่นมีความเป็นเจ้าของ เปิดโอกาสและสนับสนุนให้
เอกชน องค์กรเอกชนจัดการศึกษาให้ทุกระดับ กระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่นและ
สถานศึกษา ปรับระบบการบริหาร การจัดการและการปฏิรูปการศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักการ
ศึกษาไทยและความต้องการของผู้เรียน ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
นโยบายและกระบวนการปฏิรูปการศึกษา
จากการแถลงนโยบายของรัฐบาล ต่อรัฐสภาของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 รัฐบาลมีนโยบายด้านการศึกษาโดยมุ่งปฏิรูปการศึกษา ตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ให้คนไทยได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเรียนรู้และฝึกอบรมได้ตลอดชีวิตและมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้ โดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติ สร้างคน และสร้างงาน ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการจะนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม โดยในปีงบประมาณ 2546 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งแผนและมาตรการต่างๆ รวม 4 ประการ ได้แก่
1. การยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาและการใช้หลักสูตร การทดสอบระดับชาติ การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาและความรู้พื้นฐาน IT การพัฒนาครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา การประเมินคุณภาพสถานศึกษา การป้องกัน แก้ไขปัญหาสารเสพย์ติดและอบายมุขในสถานศึกษา
3. การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา โดยเน้นการบูรณาการ ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในกระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาวิกฤตศีลธรรม
1. การปฏิรูประบบโครงสร้างการบริหารการศึกษา โดยเน้นการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแต่เดิมเป็นอำนาจของส่วนกลาง เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป การบริหารแบบเดิมไม่เหมาะสม หลายครั้งที่มีปัญหาในท้องถิ่น ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะผู้แก้ไขคือส่วนกลางที่ไม่เข้าใจ ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริงของท้องถิ่น การให้ท้องถิ่นคิดกันเอง และแก้ไขปัญหาเองก็น่าจะเหมาะสมกว่า นอกจากนี้การบริหารจากส่วนกลางยังเป็นระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนเท่าที่ควร ประกอบกับกระแสเรียกร้องจากประชาชนให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น จะทำให้ภารกิจและบุคลากรส่วนกลางลดลง โครงสร้างก็จะเล็กลงด้วย เพื่อความเหมาะสม คล่องตัวมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทโดยบริหารในรูปของคณะกรรมการ
2.3 การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาครูให้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อาจต้องมีความรู้และทำงานหนักขึ้น สามารถแนะนำผู้เรียนได้ การพัฒนาครู ต้องดำเนินการพัฒนาใน 2 เรื่อง คือ พัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไป และพัฒนาให้สามารถนำวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่มาใช้ได้
2.4 การปฏิรูปการวัดผลและประเมินผล โดยเน้นการกำหนดมาตรฐานการประเมินโดยครูทั้งระบบ ถ้าเรามีหลักสูตรดี ครูดี วิธีสอนดี ก็ไม่ได้หมายความว่าการศึกษาต้องดี เพราะครูรู้แล้วอาจไม่นำไปสู่การปฏิบัติจึงต้องมีการวัดผลและประเมินผล การประเมินภายในโรงเรียน ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นการจัดการศึกษาในโรงเรียนว่ามีคุณภาพหรือไม่ และการประเมินภายนอกจากคนหรือองค์กรที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่จะยืนยันถึงประสิทธิภาพการจัดการศึกษา
ดังนั้น ข้าราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องช่วยกันผลักดันและแสดงศักยภาพที่จะทำงานให้การปฏิรูปการศึกษาสำเร็จตามที่ทุกคนคาดหวัง ความมุ่งมั่นและทุ่มเทที่จะทำงานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา จะช่วยให้สิ่งที่ทุกคนต้องการ เช่นตำแหน่ง ความก้าวหน้า มั่นคงในวิชาชีพตามมาเองโดยไม่ต้องเรียกร้อง ที่สำคัญต้องสร้างความมั่นใจว่าผลลัพธ์สุดท้ายผู้เรียนมีคุณภาพที่แท้จริง มีคุณลักษณะและคุณภาพตามที่ประเทศชาติต้องการ เพราะการปฏิรูปการศึกษาจะเน้นคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมาตรฐาน การจัดโครงสร้างการบริหารใหม่ก็เพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ 2.2 การปฏิรูปการเรียนการสอน โดยเน้นการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายความว่า ครูต้องจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ให้เด็กมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็น แสดงออกตามความสามารถและวัยที่เหมาะสม เป็นการให้อิสระทางความคิดไม่ใช่สอนให้จำอย่างเดียว เพราะการจำจะไม่สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้ ถ้าเด็กได้พัฒนากระบวนการคิด ความรู้ก็จะติดอยู่กับเด็กตลอดไป ครูจะมีส่วนสำคัญมากสำหรับการจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบนี้ 2.1 การปฏิรูปหลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรแกนกลางที่กรมวิชาการกำลังดำเนินการทดลองใช้หลักสูตร ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะมีผลต่ออนาคตของลูกหลานเราอย่างมาก ปัญหาที่พบขณะนี้ คือ แต่ละชั้นเรียนกันมากมายแต่ไม่รู้ว่าจำเป็นจริงๆ จะใช้อะไร เรียนอะไร หลักสูตรใหม่จะแยกความต้องการเรียนสาระ (Concept) ที่เหมาะสม มีการแบ่งช่วงชั้นปีว่านักเรียนควรได้รับอะไรโดยได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรท้องถิ่น เป็นสิ่งที่ท้องถิ่นต้องการให้เด็กเรียนตามความเหมาะสมและความต้องของแต่ละท้องถิ่น 2. การปฏิรูปการเรียนรูู้้ เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่สามารถดำเนินการไปได้พื้นที่โดยไม่ต้องรอการปรับแก้กฎหมาย มีส่วนสำคัญที่ต้องดำเนินการ 4 ส่วน ดังนี้ การจัดโครงสร้างของกระทรวง จะมีการรวม 3 หน่วยงานเข้ามาอยู่ด้วยกัน คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการ ขณะนี้มีแนวโน้วว่าจะแบ่งออกเป็นกรมใหญ่ๆ 4-5 กรม และก็มีแนวโน้มที่จะแยกเรื่องวัฒนธรรมออกไปเป็นกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เนื่องจากเรื่องศาสนา วัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญของชาติ ต้องมีหน่วยงานที่มีอำนาจ มาดูแลการบริหารจัดการ รวมทั้งเรื่องกีฬา ก็อาจจัดเป็นทบวงกีฬา ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงเหลือ 3 หน่วยงานหลัก คือ สำนักงานปลัดกระทรวง คณะกรรมการอุดมศึกษา และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และขณะนี้ก็มีข้อเสนอให้เพิ่มคณะกรรมการอาชีวศึกษา เป็นอีกองค์กรหนึ่งด้วย เพราะเป็นส่วนที่จะสร้างคนให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาคนให้มีการศึกษาเพื่ออาชีพ ซึ่งเดิมเรามองข้ามจุดนั้นไป ประเทศต่างๆ ได้เน้นการสร้างชาติโดยการสร้างคนให้มีอาชีพ จึงต้องยกการศึกษาอาชีพเป็นกรมขนาดใหญ่อีกกรมหนึ่งเป็นคณะกรรมการอาชีวศึกษา มีสถาบันสอนอาชีพหลายองค์กรมารวมกัน ทั้งอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอาชีพอื่นๆ ส่วนเขตพื้นที่การศึกษาจะมีขนาดหรือจำนวนเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับว่ารูปแบบไหนจะเกิดประสิทธิภาพการบริหารจัดการมากที่สุด ถ้าใหญ่มากควบคุมไม่ถึงก็ไม่ดี เล็กเกินไปก็มีมีปัญหาในเรื่องการเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ สิ่งที่สำคัญคือ ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถยกระดับคุณภาพและฐานะของสถานศึกษาให้มีความเท่าเทียมหรือมีคุณภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งปัจจุบันสถานศึกษามีความแตกต่างกันสูงมากสถานศึกษาในเมืองจะมีความสมบูรณ์และมีความพร้อมมากกว่าสถานศึกษาในชนบทถ้าจัดให้เขตพื้นที่ขนาดเล็ก จะเกิดความเหลื่อมล้ำ กลายเป็นการรวมโรงเรียนขาดแคลนเข้าด้วยกัน โรงเรียนสมบูรณ์รวมเข้าด้วยกัน เราไม่สามารถทุ่มเทงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดไปช่วยเหลือโรงเรียนที่ขาดแคลนได้ซึ่งต้องพิจารณาขนาดของเขตพื้นที่การศึกษาให้เหมาะสม การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล และแนวทางที่กำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หากพิจารณาประเด็นสำคัญก็จะพบว่า มี 2 เรื่อง คือ กระบวนการปฏิรูปการศึกษา 4. การบริหารจัดการ เน้นการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (PBB) การจัดทำระบบฐานข้อมูลทางการศึกษา และข้อมูลบุคลากรทางการศึกษา ระบบ IT และการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่หน่วยปฏิบัติ 2. การสร้างความเสมอภาค ทางโอกาสในการเข้าถึงการบริการ การศึกษาของทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษาการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ การสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและผู้มีความสามารถพิเศษ
1. การยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาและการใช้หลักสูตร การทดสอบระดับชาติ การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาและความรู้พื้นฐาน IT การพัฒนาครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา การประเมินคุณภาพสถานศึกษา การป้องกัน แก้ไขปัญหาสารเสพย์ติดและอบายมุขในสถานศึกษา
3. การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา โดยเน้นการบูรณาการ ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในกระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาวิกฤตศีลธรรม
1. การปฏิรูประบบโครงสร้างการบริหารการศึกษา โดยเน้นการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแต่เดิมเป็นอำนาจของส่วนกลาง เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป การบริหารแบบเดิมไม่เหมาะสม หลายครั้งที่มีปัญหาในท้องถิ่น ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะผู้แก้ไขคือส่วนกลางที่ไม่เข้าใจ ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริงของท้องถิ่น การให้ท้องถิ่นคิดกันเอง และแก้ไขปัญหาเองก็น่าจะเหมาะสมกว่า นอกจากนี้การบริหารจากส่วนกลางยังเป็นระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนเท่าที่ควร ประกอบกับกระแสเรียกร้องจากประชาชนให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น จะทำให้ภารกิจและบุคลากรส่วนกลางลดลง โครงสร้างก็จะเล็กลงด้วย เพื่อความเหมาะสม คล่องตัวมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทโดยบริหารในรูปของคณะกรรมการ
2.3 การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาครูให้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อาจต้องมีความรู้และทำงานหนักขึ้น สามารถแนะนำผู้เรียนได้ การพัฒนาครู ต้องดำเนินการพัฒนาใน 2 เรื่อง คือ พัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไป และพัฒนาให้สามารถนำวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่มาใช้ได้
2.4 การปฏิรูปการวัดผลและประเมินผล โดยเน้นการกำหนดมาตรฐานการประเมินโดยครูทั้งระบบ ถ้าเรามีหลักสูตรดี ครูดี วิธีสอนดี ก็ไม่ได้หมายความว่าการศึกษาต้องดี เพราะครูรู้แล้วอาจไม่นำไปสู่การปฏิบัติจึงต้องมีการวัดผลและประเมินผล การประเมินภายในโรงเรียน ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นการจัดการศึกษาในโรงเรียนว่ามีคุณภาพหรือไม่ และการประเมินภายนอกจากคนหรือองค์กรที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่จะยืนยันถึงประสิทธิภาพการจัดการศึกษา
ดังนั้น ข้าราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องช่วยกันผลักดันและแสดงศักยภาพที่จะทำงานให้การปฏิรูปการศึกษาสำเร็จตามที่ทุกคนคาดหวัง ความมุ่งมั่นและทุ่มเทที่จะทำงานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา จะช่วยให้สิ่งที่ทุกคนต้องการ เช่นตำแหน่ง ความก้าวหน้า มั่นคงในวิชาชีพตามมาเองโดยไม่ต้องเรียกร้อง ที่สำคัญต้องสร้างความมั่นใจว่าผลลัพธ์สุดท้ายผู้เรียนมีคุณภาพที่แท้จริง มีคุณลักษณะและคุณภาพตามที่ประเทศชาติต้องการ เพราะการปฏิรูปการศึกษาจะเน้นคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมาตรฐาน การจัดโครงสร้างการบริหารใหม่ก็เพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ 2.2 การปฏิรูปการเรียนการสอน โดยเน้นการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายความว่า ครูต้องจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ให้เด็กมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็น แสดงออกตามความสามารถและวัยที่เหมาะสม เป็นการให้อิสระทางความคิดไม่ใช่สอนให้จำอย่างเดียว เพราะการจำจะไม่สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้ ถ้าเด็กได้พัฒนากระบวนการคิด ความรู้ก็จะติดอยู่กับเด็กตลอดไป ครูจะมีส่วนสำคัญมากสำหรับการจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบนี้ 2.1 การปฏิรูปหลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรแกนกลางที่กรมวิชาการกำลังดำเนินการทดลองใช้หลักสูตร ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะมีผลต่ออนาคตของลูกหลานเราอย่างมาก ปัญหาที่พบขณะนี้ คือ แต่ละชั้นเรียนกันมากมายแต่ไม่รู้ว่าจำเป็นจริงๆ จะใช้อะไร เรียนอะไร หลักสูตรใหม่จะแยกความต้องการเรียนสาระ (Concept) ที่เหมาะสม มีการแบ่งช่วงชั้นปีว่านักเรียนควรได้รับอะไรโดยได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรท้องถิ่น เป็นสิ่งที่ท้องถิ่นต้องการให้เด็กเรียนตามความเหมาะสมและความต้องของแต่ละท้องถิ่น 2. การปฏิรูปการเรียนรูู้้ เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่สามารถดำเนินการไปได้พื้นที่โดยไม่ต้องรอการปรับแก้กฎหมาย มีส่วนสำคัญที่ต้องดำเนินการ 4 ส่วน ดังนี้ การจัดโครงสร้างของกระทรวง จะมีการรวม 3 หน่วยงานเข้ามาอยู่ด้วยกัน คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการ ขณะนี้มีแนวโน้วว่าจะแบ่งออกเป็นกรมใหญ่ๆ 4-5 กรม และก็มีแนวโน้มที่จะแยกเรื่องวัฒนธรรมออกไปเป็นกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เนื่องจากเรื่องศาสนา วัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญของชาติ ต้องมีหน่วยงานที่มีอำนาจ มาดูแลการบริหารจัดการ รวมทั้งเรื่องกีฬา ก็อาจจัดเป็นทบวงกีฬา ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงเหลือ 3 หน่วยงานหลัก คือ สำนักงานปลัดกระทรวง คณะกรรมการอุดมศึกษา และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และขณะนี้ก็มีข้อเสนอให้เพิ่มคณะกรรมการอาชีวศึกษา เป็นอีกองค์กรหนึ่งด้วย เพราะเป็นส่วนที่จะสร้างคนให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาคนให้มีการศึกษาเพื่ออาชีพ ซึ่งเดิมเรามองข้ามจุดนั้นไป ประเทศต่างๆ ได้เน้นการสร้างชาติโดยการสร้างคนให้มีอาชีพ จึงต้องยกการศึกษาอาชีพเป็นกรมขนาดใหญ่อีกกรมหนึ่งเป็นคณะกรรมการอาชีวศึกษา มีสถาบันสอนอาชีพหลายองค์กรมารวมกัน ทั้งอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอาชีพอื่นๆ ส่วนเขตพื้นที่การศึกษาจะมีขนาดหรือจำนวนเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับว่ารูปแบบไหนจะเกิดประสิทธิภาพการบริหารจัดการมากที่สุด ถ้าใหญ่มากควบคุมไม่ถึงก็ไม่ดี เล็กเกินไปก็มีมีปัญหาในเรื่องการเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ สิ่งที่สำคัญคือ ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถยกระดับคุณภาพและฐานะของสถานศึกษาให้มีความเท่าเทียมหรือมีคุณภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งปัจจุบันสถานศึกษามีความแตกต่างกันสูงมากสถานศึกษาในเมืองจะมีความสมบูรณ์และมีความพร้อมมากกว่าสถานศึกษาในชนบทถ้าจัดให้เขตพื้นที่ขนาดเล็ก จะเกิดความเหลื่อมล้ำ กลายเป็นการรวมโรงเรียนขาดแคลนเข้าด้วยกัน โรงเรียนสมบูรณ์รวมเข้าด้วยกัน เราไม่สามารถทุ่มเทงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดไปช่วยเหลือโรงเรียนที่ขาดแคลนได้ซึ่งต้องพิจารณาขนาดของเขตพื้นที่การศึกษาให้เหมาะสม การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล และแนวทางที่กำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หากพิจารณาประเด็นสำคัญก็จะพบว่า มี 2 เรื่อง คือ กระบวนการปฏิรูปการศึกษา 4. การบริหารจัดการ เน้นการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (PBB) การจัดทำระบบฐานข้อมูลทางการศึกษา และข้อมูลบุคลากรทางการศึกษา ระบบ IT และการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่หน่วยปฏิบัติ 2. การสร้างความเสมอภาค ทางโอกาสในการเข้าถึงการบริการ การศึกษาของทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษาการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ การสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและผู้มีความสามารถพิเศษ
เรียบเรียงจากคำบรรยายเรื่องนโยบายและกระบวนการทำงานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา การประชุมสัมมนา
ผู้บริหารการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 24 ธันวาคม 2544 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กทม.
การเรียนรู้อย่างมีความสุข
เป็นศตวรรษมาแล้วที่ระบบการศึกษาไทยฝังแน่นอยู่กับความเชื่อว่า สติปัญญาเป็น
สิ่งที่ติดตัวบุคคลแต่ละคนมา มีระดับตายตัวมาตั้งแต่เกิด คนปัญญาสูง ปัญญาต่ำ ในบ้านเมืองก็
กระจายไม่เป็นสัดส่วน จึงมีการขีดเส้นอนาคตการเรียนสูงสุดของเด็กไว้
โรงเรียนจึงแบ่งเด็กด้วยสมรรถภาพทางการเรียน แยกเด็กฉลาดกับเด็กโง่ออกจากกัน
นี่คือทฤษฎีหรือหลักการในการจัดโปรแกรมการเรียน หลักการที่ทำให้เกิด....
- การทดสอบแบบอิงเกณฑ์
- การแบ่งสายการเรียน ( สายอาชีพ สายสามัญ)
- การจัดกลุ่มตามความสามารถ
- โปรแกรมสำหรับเด็กปัญญาเลิศ
- และอื่น ๆ อีกมหาศาล
เราได้รับการเลี้ยมสอนมาเช่นนี้ 5 ชั่วอายุคนแล้ว เรารับกันเป็นพื้นฐานเสียแล้วว่า
มันต้อง "เป็นไปตามยถากรรม"
ความเชื่อเช่นนี้นี่เองที่ขัดขวาง "การปฏิรูปการศึกษา"
เมื่อเชื่อว่าเด็กโง่เสียแล้ว ก็ป่วยการที่จะปฏิรูปเพื่อให้ "คุณภาพการเรียนของเด็ก
(ทุกคน) ได้มาตรฐานสูง (ระดับสากล - นานาชาติ)"
ทุกคนที่ได้รับการเรียกร้องให้ทำปฏิรูป ก็จะแหกปากโอดโอยแต่เบื้องต้น
"ไม่มีทางไปถึงฝันหรอก !"
ความจริงแล้วลูกหลานของเราไม่มีอะไรผิดปรกติเลย เขาสามารถจะเรียนได้ดีเยี่ยม
เช่นเดียวกับเด็กชาติอื่นใดในโลก จิตใจของเด็กปรกติสามารถพัฒนาได้ด้วยการปฏิบัติ
สมรรถภาพในการเรียนเป็นส่วนประกอบของความหมายมั่นกับความพยายาม สติ
ปัญญา มีอยู่แล้วในตัวคนแทบทุกคนปุถุชนย่อมมีสมรรถภาพในการเรียนสูงด้วยกันทั้งนั้น
ในยุคสมัยปัจจุบันเรามีความเชื่อมั่นในสมรรถภาพการเรียนของเด็ก หลักการใหม่
ในการจัดการศึกษา จึงมุ่งที่จะ......
กำหนดมาตรฐานการสำเร็จการศึกษา (พื้นฐาน 12 ปี) ไว้ให้สูง ให้เป็น
มาตรฐานคุณภาพศตวรรษที่ 21 แล้วจัดแนวหลักสูตร นโยบายและกระบวนการ
เรียนการสอน ให้เป็นไปตามความต้องการในการเร่งรัดพัฒนาเด็กทุกคนให้ถึง
มาตรฐาน เมื่อกำหนดมาตรฐานไว้แล้ว ก็ต้องปรับปฏิบัติการทุกอย่างในระบบ
โรงเรียนและระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้า
แนวคิดที่การศึกษาทั้งระบบต้องผูกพันอยู่กับการทำให้เด็กทุกคนเผด็จมาตรฐานให้ได้
เช่นนี้ เป็นลักษณะของการปฏิวัติโดยแท้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด นโยบายและวิธีปฏิบัติด้วย
ตรรกะใหม่ เราต้องคิดว่า "สติปัญญาพัฒนาได้" ไม่ใช่ถูกขีดเส้นจำกัดมาแต่กำเนิด
ในศตวรรษที่ 21 ไทยเราต้องยึดทฤษฎีสมรรถภาพการเรียนใหม่
มองเด็กในแง่ใหม่และจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ให้เขา
"เด็กทุกคนเรียน (ในระดับความสำเร็จสูง) ได้"
ครูที่มีประสิทธิภาพเข้าใจเรื่องนี้ดี และเขารู้ดีว่าพัฒนาการของเด็กนั้น เป็นกระบวน<
การที่เชื่อว่า เด็กทุกคนในห้องเรียนของเขาเรียนประสบผลสัมฤทธิ์ในระดับสูงได้ หากเขาได้รับ
การชักจูงให้ทำงานหนักพอ เขารู้ดีว่าความมั่นใจขึ้นอยู่กับลักษณะของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
และนี่คือเคล็ดของครูที่มีประสิทธิภาพ และอาวุธลับของการปฏิรูป ก็คือ.....
การสร้างความมั่นใจ เป็นฐานไปสู่ความพยายามอันต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผล
ทางคุณภาพการเรียน
เด็กปรกติที่ได้รับการพัฒนาในสภาวะแวดล้อมที่เสริมส่งด้วย ความเชื่อ วินัย และความ
พยายามที่เป็นกระบวนการ ย่อมประสบความสำเร็จได้ นี่เป็นแรงจูงใจลึก ๆ ซึ่งจะเป็นความผูกพัน
เฉพาะตัวของเด็กกับการพัฒนาของเขา
ความมั่นใจ ความพยายาม พัฒนาการ
ที่มีประสิทธิภาพ
สิ่งที่ติดตัวบุคคลแต่ละคนมา มีระดับตายตัวมาตั้งแต่เกิด คนปัญญาสูง ปัญญาต่ำ ในบ้านเมืองก็
กระจายไม่เป็นสัดส่วน จึงมีการขีดเส้นอนาคตการเรียนสูงสุดของเด็กไว้
โรงเรียนจึงแบ่งเด็กด้วยสมรรถภาพทางการเรียน แยกเด็กฉลาดกับเด็กโง่ออกจากกัน
นี่คือทฤษฎีหรือหลักการในการจัดโปรแกรมการเรียน หลักการที่ทำให้เกิด....
- การทดสอบแบบอิงเกณฑ์
- การแบ่งสายการเรียน ( สายอาชีพ สายสามัญ)
- การจัดกลุ่มตามความสามารถ
- โปรแกรมสำหรับเด็กปัญญาเลิศ
- และอื่น ๆ อีกมหาศาล
เราได้รับการเลี้ยมสอนมาเช่นนี้ 5 ชั่วอายุคนแล้ว เรารับกันเป็นพื้นฐานเสียแล้วว่า
มันต้อง "เป็นไปตามยถากรรม"
ความเชื่อเช่นนี้นี่เองที่ขัดขวาง "การปฏิรูปการศึกษา"
เมื่อเชื่อว่าเด็กโง่เสียแล้ว ก็ป่วยการที่จะปฏิรูปเพื่อให้ "คุณภาพการเรียนของเด็ก
(ทุกคน) ได้มาตรฐานสูง (ระดับสากล - นานาชาติ)"
ทุกคนที่ได้รับการเรียกร้องให้ทำปฏิรูป ก็จะแหกปากโอดโอยแต่เบื้องต้น
"ไม่มีทางไปถึงฝันหรอก !"
ความจริงแล้วลูกหลานของเราไม่มีอะไรผิดปรกติเลย เขาสามารถจะเรียนได้ดีเยี่ยม
เช่นเดียวกับเด็กชาติอื่นใดในโลก จิตใจของเด็กปรกติสามารถพัฒนาได้ด้วยการปฏิบัติ
สมรรถภาพในการเรียนเป็นส่วนประกอบของความหมายมั่นกับความพยายาม สติ
ปัญญา มีอยู่แล้วในตัวคนแทบทุกคนปุถุชนย่อมมีสมรรถภาพในการเรียนสูงด้วยกันทั้งนั้น
ในยุคสมัยปัจจุบันเรามีความเชื่อมั่นในสมรรถภาพการเรียนของเด็ก หลักการใหม่
ในการจัดการศึกษา จึงมุ่งที่จะ......
กำหนดมาตรฐานการสำเร็จการศึกษา (พื้นฐาน 12 ปี) ไว้ให้สูง ให้เป็น
มาตรฐานคุณภาพศตวรรษที่ 21 แล้วจัดแนวหลักสูตร นโยบายและกระบวนการ
เรียนการสอน ให้เป็นไปตามความต้องการในการเร่งรัดพัฒนาเด็กทุกคนให้ถึง
มาตรฐาน เมื่อกำหนดมาตรฐานไว้แล้ว ก็ต้องปรับปฏิบัติการทุกอย่างในระบบ
โรงเรียนและระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้า
แนวคิดที่การศึกษาทั้งระบบต้องผูกพันอยู่กับการทำให้เด็กทุกคนเผด็จมาตรฐานให้ได้
เช่นนี้ เป็นลักษณะของการปฏิวัติโดยแท้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด นโยบายและวิธีปฏิบัติด้วย
ตรรกะใหม่ เราต้องคิดว่า "สติปัญญาพัฒนาได้" ไม่ใช่ถูกขีดเส้นจำกัดมาแต่กำเนิด
ในศตวรรษที่ 21 ไทยเราต้องยึดทฤษฎีสมรรถภาพการเรียนใหม่
มองเด็กในแง่ใหม่และจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ให้เขา
"เด็กทุกคนเรียน (ในระดับความสำเร็จสูง) ได้"
ครูที่มีประสิทธิภาพเข้าใจเรื่องนี้ดี และเขารู้ดีว่าพัฒนาการของเด็กนั้น เป็นกระบวน<
การที่เชื่อว่า เด็กทุกคนในห้องเรียนของเขาเรียนประสบผลสัมฤทธิ์ในระดับสูงได้ หากเขาได้รับ
การชักจูงให้ทำงานหนักพอ เขารู้ดีว่าความมั่นใจขึ้นอยู่กับลักษณะของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
และนี่คือเคล็ดของครูที่มีประสิทธิภาพ และอาวุธลับของการปฏิรูป ก็คือ.....
การสร้างความมั่นใจ เป็นฐานไปสู่ความพยายามอันต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผล
ทางคุณภาพการเรียน
เด็กปรกติที่ได้รับการพัฒนาในสภาวะแวดล้อมที่เสริมส่งด้วย ความเชื่อ วินัย และความ
พยายามที่เป็นกระบวนการ ย่อมประสบความสำเร็จได้ นี่เป็นแรงจูงใจลึก ๆ ซึ่งจะเป็นความผูกพัน
เฉพาะตัวของเด็กกับการพัฒนาของเขา
ความมั่นใจ ความพยายาม พัฒนาการ
ที่มีประสิทธิภาพ
คุณภาพการเรียนของเด็กไทยรุ่นใหม่
เป็นที่เข้าใจกันแล้วว่า เป้าหมายเบื้องบนสุดอันเป็นหัวใจของ การปฏิรูปการศึกษา คือ
" คุณภาพการเรียนของเด็ก "
เราจะปฏิรูปปฏิวัติหรือที่เรียกว่าเปลี่ยนแปลงอะไรต่อมิอะไรกันทั้งระบบเป็นการใหญ่นั้น
ก็ทำไปเพื่อให้เกิดผลที่ " ตัวเด็ก "
หมายความว่าเริ่มต้นก็อยู่ที่ตัวเด็กลงท้ายซึ่งเป็นจุดสำเร็จก็อยู่ที่ตัวเด็ก ทำอะไร ๆ
ก็ต้อง " คำนึงถึงตัวเด็ก " จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรก็ต้องถามว่า แล้วเด็กได้อะไร ?
จะเกิดผลกระทบอะไรขึ้นกับเด็ก ? หากผลจะเกิดกับเด็กนั้นเป็นสิ่ง (คุณภาพ) ที่เราต้องการ และจะ
เกิดขึ้นได้ระดับ (มาตรฐาน) ที่เราประสงค์ที่กำหนดไว้ เราก็ทำ (ปรับเปลี่ยน) หากไม่ใช่คุณภาพ
หรือใช่ แต่ไม่ได้มาตรฐาน (สูงตามที่เรากำหนดเป้าไว้) เราก็ไม่ทำ ! หรือทำแต่ใช้วิธีการอย่างใหม่
เพราะสิ่งที่เราต้องการจากการปฏิรูปคือ... คุณภาพการเรียน (ของเด็ก) ได้มาตรฐานสูง
จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไร ๆ อย่างไรต้องคำนึงถึง ผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก
จะปรับเปลี่ยนระบบบริหารการศึกษาของประเทศ ของจังหวัดหรือระบบบริหารภายใน
โรงเรียนก็ต้องถามว่าแล้วเด็กจะได้อะไร ? จะปรับเปลี่ยนระบบหลักสูตร (ซึ่งรวมทั้งเป้าหมาย
การศึกษามาตรฐานการศึกษาของเด็ก ระบบการประเมินผลและการรายงาน) ต้องถามว่า แล้วเด็ก
จะได้อะไร ? จะปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน ที่เน้น (กันนักหนาว่า) ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น
เด็กจะได้อะไร ? จะปรับปรุงระบบวิชาชีพของครู (และบุคลากรการศึกษา) เป็นการใหญ่ แล้วเด็ก
จะได้อะไร ?
การตอบคำถามว่าเด็กจะได้อะไรนั้นต้องชัดเจนและแหลมคมหน่อยนะครับ เพราะเรา
ต้องการเด็กที่มี........ คุณภาพการเรียนได้มาตรฐานสูง
เด็กไทยในอนาคต เด็กไทยในศตวรรษที่ 21 เด็กไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ ต้องเป็น...
เด็กไทยรุ่นใหม่
เด็กไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพอย่างใหม่
เด็กไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพอย่างใหม่ที่ได้มาตรฐานสูง
เด็กไทยรุ่นใหม่ ที่มีคุณภาพอย่างใหม่ที่ได้มาตรฐานสูงในระดับสากล (นานาชาติ)
อะไรคือคุณภาพอย่างใหม่? มาตรฐานสูง (สากล) คือเท่าไร ? จะต้องปฏิรูปอะไร ?
ให้เป็นอย่างไร ? ด้วยวิธีการอย่างไร ? ใครต้องทำส่วนไหน อย่างไร เด็กจึงจะได้อย่างที่ว่า ?
ก็ต้องมียุทธศาสตร์การปฏิรูปที่แยบยล !
" คุณภาพการเรียนของเด็ก "
เราจะปฏิรูปปฏิวัติหรือที่เรียกว่าเปลี่ยนแปลงอะไรต่อมิอะไรกันทั้งระบบเป็นการใหญ่นั้น
ก็ทำไปเพื่อให้เกิดผลที่ " ตัวเด็ก "
หมายความว่าเริ่มต้นก็อยู่ที่ตัวเด็กลงท้ายซึ่งเป็นจุดสำเร็จก็อยู่ที่ตัวเด็ก ทำอะไร ๆ
ก็ต้อง " คำนึงถึงตัวเด็ก " จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรก็ต้องถามว่า แล้วเด็กได้อะไร ?
จะเกิดผลกระทบอะไรขึ้นกับเด็ก ? หากผลจะเกิดกับเด็กนั้นเป็นสิ่ง (คุณภาพ) ที่เราต้องการ และจะ
เกิดขึ้นได้ระดับ (มาตรฐาน) ที่เราประสงค์ที่กำหนดไว้ เราก็ทำ (ปรับเปลี่ยน) หากไม่ใช่คุณภาพ
หรือใช่ แต่ไม่ได้มาตรฐาน (สูงตามที่เรากำหนดเป้าไว้) เราก็ไม่ทำ ! หรือทำแต่ใช้วิธีการอย่างใหม่
เพราะสิ่งที่เราต้องการจากการปฏิรูปคือ... คุณภาพการเรียน (ของเด็ก) ได้มาตรฐานสูง
จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไร ๆ อย่างไรต้องคำนึงถึง ผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก
จะปรับเปลี่ยนระบบบริหารการศึกษาของประเทศ ของจังหวัดหรือระบบบริหารภายใน
โรงเรียนก็ต้องถามว่าแล้วเด็กจะได้อะไร ? จะปรับเปลี่ยนระบบหลักสูตร (ซึ่งรวมทั้งเป้าหมาย
การศึกษามาตรฐานการศึกษาของเด็ก ระบบการประเมินผลและการรายงาน) ต้องถามว่า แล้วเด็ก
จะได้อะไร ? จะปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน ที่เน้น (กันนักหนาว่า) ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น
เด็กจะได้อะไร ? จะปรับปรุงระบบวิชาชีพของครู (และบุคลากรการศึกษา) เป็นการใหญ่ แล้วเด็ก
จะได้อะไร ?
การตอบคำถามว่าเด็กจะได้อะไรนั้นต้องชัดเจนและแหลมคมหน่อยนะครับ เพราะเรา
ต้องการเด็กที่มี........ คุณภาพการเรียนได้มาตรฐานสูง
เด็กไทยในอนาคต เด็กไทยในศตวรรษที่ 21 เด็กไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ ต้องเป็น...
เด็กไทยรุ่นใหม่
เด็กไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพอย่างใหม่
เด็กไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพอย่างใหม่ที่ได้มาตรฐานสูง
เด็กไทยรุ่นใหม่ ที่มีคุณภาพอย่างใหม่ที่ได้มาตรฐานสูงในระดับสากล (นานาชาติ)
อะไรคือคุณภาพอย่างใหม่? มาตรฐานสูง (สากล) คือเท่าไร ? จะต้องปฏิรูปอะไร ?
ให้เป็นอย่างไร ? ด้วยวิธีการอย่างไร ? ใครต้องทำส่วนไหน อย่างไร เด็กจึงจะได้อย่างที่ว่า ?
ก็ต้องมียุทธศาสตร์การปฏิรูปที่แยบยล !
วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554
สวัสดีปีใหม่ 2554
ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ การงานเจริญก้าวหน้า คิดสิ่งใดสมหวังทุกประการ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)